ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2019

7 อุปนิสัยการคิดเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสมาคม

สมาคม และองค์การไม่หวังผลกำไรอื่นๆ จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ของตนเอง จึงต้องมียุทธศาสตร์ มีแผนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้น และนี่คือ 7 อุปนิสัยในการคิดเชิงกลยุทธ์ ที่ช่วยนำสมาคมของคุณให้อยู่บนเส้นทางสู่วัตถุประสงค์ที่วางไว้อย่างเหนือชั้น 1. สรรหาบุคคลที่ "ใช่" เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ คณะกรรมการของสมาคม จะเป็นผู้กำกับด้านนโยบายทิศทางของสมาคม เป็นผู้ชี้ทิศทางการเดินของสมาคม การมีบุคคลที่ใช่จึงมีความสำคัญต่อสมาคม เราไม่สามารถได้"พรุ่งนี้" ด้วยนักคิดแบบ "เมื่อวานนี้" การมีกรรมการใหม่ๆเข้ามามีส่วนร่วม จะช่วยให้แนวความคิดของกรรมการนอกจากจะมีความหลากหลายแล้ว ยังมีความสดใหม่อีกด้วย แม้ว่าการปรับเปลี่ยนกรรมการจะมีความจำเป็น แต่การเปลี่ยนตัวคณะกรรมการ มักเป็นเรื่องลำบากใจของทุกสมาคม การตั้งกฏระเบียบเพื่อให้เกิดการหมุนเวียนกรรมการที่เหมาะสม จะช่วยลดปัญหานี้ได้ 2. ท้าทายสมมุติฐานเดิม "ทำแบบนี้เพราะเคยทำ" เป็นเหตุผลที่ไม่ค่อยเป็นที่ยอมรับในองค์การที่ต้องการก้าวขึ้นระดับถัดไป การตั้งคำถามท้าทายสิ่งที่สมาคมทำ นำไปสู่ความคิดใหม่ๆในการทำงาน จะช

8 รูปแบบรายได้ที่ไม่ใช่ค่าธรรมเนียม ที่สมาคมสามารถสร้างขึ้นง่ายๆ

การไม่หวังผลกำไร เป็นวัตถุประสงค์ หนึ่งขององค์การที่ไม่หวังผลกำไรอย่าง มูลนิธิ สมาคม หรือสมาคมการค้า แต่ไม่ใช่โมเดลธุรกิจ ในการทำกิจกรรม องค์การไม่หวังผลกำไรเหล่านี้จำเป็นต้องใช้เงินในการทำกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งองค์การ  จึงต้องมีโมเดลธุรกิจย่อยอย่างน้อยสองโมเดล หนึ่งคือโมเดลธุรกิจสำหรับงานตามวัตถุประสงค์ โมเดลย่อยที่สองคือ การสร้างรายได้ให้เพียงพอกับการผลักดันกิจกรรมตามวัตถุประสงค์แรก รายได้ของสมาคมต่างๆ มีที่มาใหญ่ๆสองทางคือ รายได้จากค่าธรรมเนียมหรือค่าบำรุงที่ได้จากสมาขิก ทางที่สองคือ รายได้อื่นที่ไม่ใข่ค่าธรรมเนียม ซึ่งรายได้ที่ไม่ใช่ค่าธรรมเนียมนี้ เป็นแหล่งรายได้ที่ช่วยลดภาระของสมาชิกได้ดี สมาคมมักพบว่า มีกิจกรรมมากมายที่ต้องทำเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งสมาคม หากแต่การขาดทรัพยากรสำคัญคือรายได้ที่จะใช้ การจะขอเพิ่มค่าธรรมเนียมจากสมาชิก ก็มักไม่ค่อยได้รับความร่วมมือ หรือไม่อนุมัติคำร้องขอของกรรมการบริหารสมาคม ทำให้ต้องชลอหรือลดขนาดโครงการลงให้เหมาะสมกับรายได้ที่มี และนี่คือรูปแบบของรายได้ที่ไม่ใช่ค่าธรรมเนียม ที่จะช่วยเพิ่มงบประมาณในการทำงานตามวัตถุประ

8 ข้อผิดพลาดของสมาคมส่วนใหญ่

1.ขาดการมุ่งเน้นพันธกิจ เมื่อคณะกรรมการบริหาร ไม่ได้มุ่งเน้นพันธกิจของสมาคม สิ่งเลวร้ายอาจเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว อาจเป็นการพลาดโอกาส หรือที่ร้ายกว่านั้น สมาคมอาจดำเนินไปอย่างไร้จุดหมาย สมาคมจำนวนมาก เป็นเพียงเวทีที่สังสรรค์ร่วมรับประทานอาหารกันในหมู่กรรมการ แทนที่จะให้ความสำคัญกับพันธกิจตามวัตถุประสงค์ที่ก่อตั้งสมาคมขึ้นมา เพราะสมาคมเหล่านี้ขาดการยึดโยงกิจกรรมที่ทำเข้ากับวิสัยทัศน์และพันธกิจ การมีวิสัยทัศน์และพันธกิจของสมาคมที่ชัดเจน ยังช่วยดึงดูดและยึดโยงผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และความร่วมมือต่างๆมาสู่สมาคมอีกด้วย ทำให้สมาคมมีทรัพยากรที่จะใช้เพื่อผลักดันกิจกรรมได้ สมาคมและองค์การไม่หวังผลกำไรอื่นๆ ที่มุ่งมั่นในการพัฒนา จะให้ความสำคัญกับพันธกิจเพื่อที่จะวางยุทธศาสตร์และแผนให้สอดรับกัน สมาคมควรหมั่นทบทวนพันธกิจของตนเอง ถามตัวเองว่ากิจกรรมที่ทำอยู่เป็นอย่างไร?  สอดคล้องกับพันธกิจของสมาคมหรือไม่?  สมาคมเราให้บริการสมาชิกได้ดีแค่ไหน?  สามารถสื่อสารถึงวิสัยทัศน์ของสมาคมออกไปได้เพียงใด? ลองเขียนแล้วแบ่งปันวิสัยทัศน์ด้วยการสื่อสารผ่านสื่อทุกช่องทางของสมาคม เพื่อให้ทุกคนได้รับทรา

6 แหล่งรายได้ของสมาคม

สมาคมการค้าส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องขนาดงบประมาณที่จะใช้ในการผลักดันกิจกรรมของสมาคม ครั้นจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มจากสมาชิก สมาขิกก็มักจะไม่ยินยอมให้เก็บเพิ่ม สมาคมการค้าจึงมักจะต้องใช้วิธีปรับลดกิจกรรมตามแผนงานลง ปัญหาเช่นนี้มักเกิดขึ้นกับองค์การที่ไม่หวังผลกำไรอื่นประเภทที่เน้นบทบาทของสมาชิกด้วย อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาดีๆ สมาชิกไม่ใช่แหล่งรายได้เดียวของสมาคมการค้า เมื่อจำแนกรายได้ของสมาคม จากเจ้าของเงิน เราสามารถแบ่งได้เป็น 1.สมาชิก :  สมาชิกเป็นแหล่งรายได้แรกๆที่สมาคมจะคิดถึง อย่างไรก็ตาม สมาคมสามารถได้รับรายได้จากสมาชิก ไม่เพียงแต่ในรูปแบบของค่าธรรมเนียมเท่านั้น สมาคมยังสามารถสร้างสรรค์บริการอื่นที่ตรงใจสมาชิก เพื่อรับค่าบริการเป็นการตอบแทน เช่นการอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพของสมาชิก, การจัดกิจกรรมเพื่อสร้างโอกาสทางการตลาดแก่สมาชิก เป็นต้น 2.ภาครัฐ :  องค์การไม่หวังผลกำไร เกิดขึ้นจากการที่รัฐบาลไม่สามารถดูแลงานภาคสังคมได้ทั่วถึง จึงเกิดการรวมตัวกันของชุมชนเข้ามาช่วยจัดการแทนภาครัฐ ดังนั้นภาครัฐจึงสนับสนุนงบประมาณและอื่นๆ เป็นการตอบแทนการทำหน้าที่แทนรัฐบาลขององค์การไม่แสวงหากำไร

รายได้ของสมาคม

องค์การไม่หวังผลกำไรมีความแตกต่างจากหน่วยธุรกิจ   หน่วยธุรกิจดำเนินกิจกรรมต่างๆ โดยมีเงินเป็นเป้าหมาย แต่เงินไม่ใช่เป้าหมายในการดำเนินงานของหน่วยงานไม่หวังผลกำไรอย่างเช่น มูลนิธิ สมาคม สมาคมการค้า เป็นต้น องค์การไม่หวังผลกำไรเหล่านี้ ก่อตั้งองค์การมาเพื่อวัตถุประสงค์อื่นที่มิใช่ การสร้างรายได้แล้วนำผลกำไรมาแบ่งปันกัน   มูลนิธิ มักตั้งขึ้นเพื่อจัดการทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์แก่สาธารณะ สมาคม มักตั้งขึ้นเพื่อดำเนินกิจกรรมบางอย่างอันเป็นความสนใจร่วมกันของคนหลายๆคนที่มีลักษณะต่อเนื่อง สมาคมการค้า มักมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการประกอบการของสมาชิกซึ่งมักอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ขององค์การไม่หวังผลกำไรเหล่านี้ ก็ต้องใช้เงินในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ ไม่ต่างจากหน่วยธุรกิจ องค์การไม่หวังผลกำไร ต้องจ้างพนักงานประจำ ต้องซื้อเครื่องมือ อุปกรณ์ในการทำงาน ต้องเดินทาง ต้องเช่าอาคารสถานที่ เป็นต้น เหล่านี้ล้วนแต่ต้องใช้เงิน ปัญหาเรื่องเงิน มักเป็นปัญหาใหญ่ที่ทำความปวดหัวให้กับผู้บริหารสมาคมจำนวนมาก หลายๆสม

5 ขั้นตอนการสร้างอาสาสมัครในสมาคม และองค์การไม่หวังผลกำไรอื่น

ขั้นตอนการสร้างระบบอาสาสมัครให้เกิดขึ้นภายในสมาคม และองค์การที่ไม่หวังผลกำไรอื่น ให้ประสบความสำเร็จนั้น ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนใหญ่ ดังนี้ 1. การวางแผน ก่อนอื่น ต้องทำความเข้าใจกับความต้องการขององค์การเองก่อนว่า เรามีนโยบายอะไร เราหวังอะไรจากการมีอาสาสมัคร เมื่อเราเข้าใจตัวเองแล้ว จึงมาทำความเข้าใจกับตำแหน่งงานที่ต้องการอาสาสมัคร แล้วทำกระบวนการออกแบบงาน เพื่อให้ได้รายละเอียดของงานนั้นๆ เป็นต้นว่า จุดมุ่งหมายของงานนั้น คุณสมบัติของผู้จะทำหน้าที่นี้ ทักษะที่จำเป็น วันเวลาระยะเวลาพื้นที่การทำงาน อำนาจหน้าที่ต่างๆ คำอธิบายงาน เป็นต้น 2. การสรรหาและคัดเลือก เมื่อได้รายละเอียดต่างๆของงาน ก็จะนำไปสู่ขั้นต่อไป คือการทำความเข้าใจกับกลุ่มผู้มีคุณสมบัติเป็นอาสาสมัคร เป็นต้นว่า เขามุ่งหวังอะไร อะไรเป็นเหตุจูงใจให้เขามาเป็นอาสาสมัคร จะสื่อสารกับพวกเขาได้อย่างไร จากนั้นก็สื่อสารออกไปเชิญชวนให้มาสมัคร เพื่อที่สมาคมจะได้คัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติตรงกับรายละเอียดของตำแหน่งที่ได้ทำไว้ในข้อหนึ่ง 3. ปฐมนิเทศน์และฝึกอบรม เมื่อได้อาสาสมัครตามที่วางแผนไว้แล

แนวทางการทำงานร่วมกับอาสาสมัครของสมาคม

ปัญหาใหญ่ปัญหาหนึ่งขององค์การที่ไม่หวังผลกำไรก็คือ องค์การเหล่านี้ไม่มีเงินมากนักในการทำกิจกรรมเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ การใช้จ่ายเงินจึงต้องเป็นไปอย่างระมัดระวัง จะจ่ายเท่าที่จำเป็น เพื่อให้มีเงินเพียงพอในการผลักดันกิจกรรมสำคัญ อีกทางเลือกหนึ่งขององค์การไม่หวังผลกำไร เช่น มูลนิธิ สมาคม สมาคมการค้า ที่จะผลักดันงานตามวัตถุประสงค์ อย่างประหยัดเงินก็คือ การใช้อาสาสมัครในการทำงาน อาสาสมัครคือ พลังในการทำงานที่องค์การไม่ต้องจ่ายค่าแรง หรือจ่ายเพียงเล็กน้อย การใช้งานอาสาสมัคร ถือว่าเป็นข้อดีที่เป็นจุดเด่นขององค์การที่ไม่หวังผลกำไร เมื่อคุณใช้มืออาชีพในการทำงานให้กับธุรกิจ คุณต้องจ่ายค่าตอบแทนการทำงานให้กับมืออาชีพคนนั้น ยิ่งเก่งเท่าไหร่ คุณก็ต้องจ่ายมากขึ้นเท่านั่น แต่ไม่ใช่กับองค์การที่ไม่หวังผลกำไร หลายๆองค์การสามารถดึงดูดให้มืออาชีพเหล่านี้มาทำงานด้วย โดยที่มืออาชีพเหล่านี้ไม่ต้องการรับค่าตอบแทน ซึ่งมืออาชีพบางคน แม้ว่าธุรกิจจะยินดีจ่ายค่าตอบแทน ก็ไม่สามารถได้ร่วมงานด้วย แต่มืออาชีพเหล่านี้กลับเสนอตัวทำงานให้กับองค์การที่ไม่หวังผลกำไรบางแห่ง เป็น

3 ข้อดีของการใช้อาสาสมัครในสมาคม และองค์การไม่หวังผลกำไร

องค์การไม่หวังผลกำไร อย่างเช่น # มูลนิธิ # สมาคม # สมาคมการค้า มีจุดเด่นหนึ่งที่เหนือกว่าหน่วยธุรกิจ นั่นคือความสามารถในการใช้ประโยชน์จากอาสาสมัคร อาสาสมัคร คือบุคลากรที่เป็นมืออาชีพในงานปกติที่อาสาสมัครเหล่านี้ทำงานเพื่อรับค่าตอบแทน แต่อาสาสมัครเหล่านี้กลับยินดีที่จะใช้ความรู้ความสามารถที่มี มาทำงานให้แก่องค์การไม่หวังผลกำไร โดยที่ค่าตอบแทนไม่ใช่ปัจจัยจูงใจ 3 ข้อดีของการใช้อาสาสมัครในองค์การไม่หวังผลกำไร 1. ลดภาระทางการเงิน ปัญหาใหญ่เรื่องหนึ่งของหลายๆสมาคมการค้า นั่นคือความจำกัดของงบประมาณที่จะใช้ในการทำกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ ในขณะที่มีกิจกรรมตามพันธกิจมากมายเหลือเกินที่ต้องทำ บ่อยครั้งที่ความไม่สัมพันธ์กันเช่นนี้ ทำให้สมาคมเหล่านี้ ต้องปรับลด หรือละทิ้งพันธกิจของตนเองไป อย่างที่กล่าวข้างต้น อาสาสมัคร คือผู้ที่ต้องการอุทิศความรู้ความสามารถของตนเองให้กับการทำงานเพื่อส่วนรวม โดยที่เงินไม่ใช่ตัวตั้ง ดังนั้น สมาคม หรือองค์การที่ไม่หวังผลกำไรอื่นๆที่มองเห็นความจริงข้อนี้ และสามารถทำให้องค์การ เป็นที่สะดุดตาของอาสาสมัครเหล่านี้ ก็จะได้มืออาชีพม