ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ภาษีเงินได้ของสมาคม สมาคมการค้า และมูลนิธิ

มูลนิธิ สมาคม และสมาคมการค้า จัดเป็นองค์การไม่แสวงหากำไร แต่ไม่ถือว่าเป็นองค์การที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล จนกว่าจะได้รับการประกาศให้เป็นสถานสาธารณกุศลตามประมวลรัษฎากร มาตรา 47(7)(ข)
องค์การไม่แสวงหากำไรที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่ไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้เหล่านี้ ต้องเสียภาษีเงินได้ โดยคำนวณจากเงินได้ที่ได้รับก่อนหักค่าใช้จ่าย เนื่องจากองค์การเหล่านี้ ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าไม่หวังผลกำไรอย่างหน่วยธุรกิจทั่วไป ด้งนั้น องค์การไม่หวังผลกำไรแม้จะมีรายได้ และรายจ่าย แต่หลักในการคำนวณภาษีเงินได้ จะคำนวณจากฐานคือเงินได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายใดๆ
สำหรับอัตราภาษีขององค์การไม่หวังผลกำไรเหล่านี้ มีดังนี้
- กรณีเงินได้มาตรา 40(1)-(7) อัตราภาษีอยู่ที่ 10% ของเงินได้
- กรณีเงินได้มาตรา 40(8) เงินได้จากการพาณิชย์ อัตราภาษีอยู่ที่ 2%
🤞🤞🤞ทั้งนี้ มีข้อยกเว้นไม่ต้องนำเงินได้มารวมคำนวณภาษีใน 3 กรณีคือ
1. ค่าธรรมเนียม หรือค่าบำรุงที่เก็บจากสมาชิก
2. เงินบริจาค
3. เงินได้โดยเสน่หา
วางแผนการจัดตั้งสมาคมของคุณให้สอดคล้องกับภาระภาษีด้วยนะ จะได้มีเงินไว้สร้างกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ 😁😀

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

6 แหล่งรายได้ของสมาคม

สมาคมการค้าส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องขนาดงบประมาณที่จะใช้ในการผลักดันกิจกรรมของสมาคม ครั้นจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มจากสมาชิก สมาขิกก็มักจะไม่ยินยอมให้เก็บเพิ่ม สมาคมการค้าจึงมักจะต้องใช้วิธีปรับลดกิจกรรมตามแผนงานลง ปัญหาเช่นนี้มักเกิดขึ้นกับองค์การที่ไม่หวังผลกำไรอื่นประเภทที่เน้นบทบาทของสมาชิกด้วย อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาดีๆ สมาชิกไม่ใช่แหล่งรายได้เดียวของสมาคมการค้า เมื่อจำแนกรายได้ของสมาคม จากเจ้าของเงิน เราสามารถแบ่งได้เป็น 1.สมาชิก :  สมาชิกเป็นแหล่งรายได้แรกๆที่สมาคมจะคิดถึง อย่างไรก็ตาม สมาคมสามารถได้รับรายได้จากสมาชิก ไม่เพียงแต่ในรูปแบบของค่าธรรมเนียมเท่านั้น สมาคมยังสามารถสร้างสรรค์บริการอื่นที่ตรงใจสมาชิก เพื่อรับค่าบริการเป็นการตอบแทน เช่นการอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพของสมาชิก, การจัดกิจกรรมเพื่อสร้างโอกาสทางการตลาดแก่สมาชิก เป็นต้น 2.ภาครัฐ :  องค์การไม่หวังผลกำไร เกิดขึ้นจากการที่รัฐบาลไม่สามารถดูแลงานภาคสังคมได้ทั่วถึง จึงเกิดการรวมตัวกันของชุมชนเข้ามาช่วยจัดการแทนภาครัฐ ดังนั้นภาครัฐจึงสนับสนุนงบประมาณและอื่นๆ เป็นการตอบแทนการทำหน้าที่แทนรัฐบาลขององค์การไม่แ...

Funding Model เพื่อการบริหารชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถีอย่างยั่งยืน

นวัตวิถีคือโครงการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้เกิดรายได้กับชุมชน โดยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างทั่วถึง กระตุ้นเศรษฐกิจและสังคมภายในประเทศให้มีความเข้มแข็ง เป็นโครงการที่ผนวกโครงการ OTOP เข้ากับการท่องเที่ยว โดยสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวเมืองรองขึ้น แล้วส่งนักท่องเที่ยวเข้าชุมชน แทนที่จะดึงวิสาหกิจออกจากชุมชนสู่เมืองอย่างที่โอท็อปเคยทำด้วยการจัดงานแฟร์ แล้วให้สินค้าชุมชนต่างๆเหล่านี้มาออกร้านขายของปีละสามสี่เดือน ส่วนที่เหลืออีกปีละแปดเก้าเดือน ก็เคว้ง ว่างงาน กับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป งานของโครงการชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถี เริ่มตั้งแต่การค้นหาจุดเด่นของชุมชน ดึงมาพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว สร้างเรื่องราว เรื่องเล่า ผสานกับการให้ความรู้กับชุมชนในการสร้างรายรับจากนักท่องเที่ยวที่เข้าสู่ชุมชน นวัตวิถี จึงเป็นโครงการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ภายใต้วิถีชีวิตปกติของชุมชนเอง อย่างไรก็ตาม หากต้องการทำให้โครงการมีความยั่งยืน ต้องมีการจัดการเพื่อให้การบริหารโครงการมีความต่อเนื่อง จำเป็นต้องมีการบำรุงรักษาและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว การรักษาความสะอาด การรักษาความปลอดภัย การพัฒนาสินค้าและบริการให้มีความว้าว ...