ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

6 แหล่งรายได้ของสมาคม

สมาคมการค้าส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องขนาดงบประมาณที่จะใช้ในการผลักดันกิจกรรมของสมาคม ครั้นจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มจากสมาชิก สมาขิกก็มักจะไม่ยินยอมให้เก็บเพิ่ม สมาคมการค้าจึงมักจะต้องใช้วิธีปรับลดกิจกรรมตามแผนงานลง ปัญหาเช่นนี้มักเกิดขึ้นกับองค์การที่ไม่หวังผลกำไรอื่นประเภทที่เน้นบทบาทของสมาชิกด้วย

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาดีๆ สมาชิกไม่ใช่แหล่งรายได้เดียวของสมาคมการค้า เมื่อจำแนกรายได้ของสมาคม จากเจ้าของเงิน เราสามารถแบ่งได้เป็น


1.สมาชิก : 
สมาชิกเป็นแหล่งรายได้แรกๆที่สมาคมจะคิดถึง อย่างไรก็ตาม สมาคมสามารถได้รับรายได้จากสมาชิก ไม่เพียงแต่ในรูปแบบของค่าธรรมเนียมเท่านั้น สมาคมยังสามารถสร้างสรรค์บริการอื่นที่ตรงใจสมาชิก เพื่อรับค่าบริการเป็นการตอบแทน เช่นการอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพของสมาชิก, การจัดกิจกรรมเพื่อสร้างโอกาสทางการตลาดแก่สมาชิก เป็นต้น

2.ภาครัฐ : 
องค์การไม่หวังผลกำไร เกิดขึ้นจากการที่รัฐบาลไม่สามารถดูแลงานภาคสังคมได้ทั่วถึง จึงเกิดการรวมตัวกันของชุมชนเข้ามาช่วยจัดการแทนภาครัฐ ดังนั้นภาครัฐจึงสนับสนุนงบประมาณและอื่นๆ เป็นการตอบแทนการทำหน้าที่แทนรัฐบาลขององค์การไม่แสวงหากำไร ในโครงการที่เป็นนโยบายของภาครัฐ
สมาคมการค้าเป็นการรวมตัวของชุมชนผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน ในขณะที่รัฐบาลทุกรัฐบาลจะให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจ การใช้ GDP เป็นเกณฑ์วัดผลการทำงานของทุกรัฐบาล ดังนั้น หากสมาคมการค้ามีแผนหรือแนวทางที่จะส่งเสริมธุรกิจ เพื่อให้ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวม จึงเป็นแนวทางที่รัฐบาลอาจให้การสนับสนุน ถ้าจะเพิ่มโอกาสได้รับการสนับสนุนแน่ๆ ก็ต้องเป็นงานที่อยู่ในแผนการส่งเสริมของภาครัฐ กรณีเช่นนี้มีโอกาสมากขึ้นที่จะได้รับการสนับสนุน แต่อาจไม่ใช่ในรูปแบบของเงินแเสมอไป เพราะบ่อยครั้งที่การสนับสนุนของภาครัฐอาจมาในรูปแบบอื่นด้วยเช่น ที่ปรึกษา, วงเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ, การสนับสนุนทางวิชาการจากภาคการศึกษา เป็นต้น

ภาครัฐจึงเป็นอีกแหล่งหนึ่งที่สามารถสนับสนุนเงินองค์การที่ไม่หวังผลกำไร

3.ภาคธุรกิจ :
สมาชิกของสมาคมการค้า ก็คือเจ้าของหน่วยธุรกิจหนึ่ง แต่ในข้อนี้ มิได้หมายถึงภาคธุรกิจที่เป็นสมาชิกของสมาคม แต่หมายถึงภาคธุรกิจในอุตสาหกรรมอื่น

ในขณะที่สมาชิกของสมาคมการค้าของคุณกำลังหมายตาไปยังลูกค้าของกิจการ ขณะเดียวกันหน่วยธุรกิจในอุตสาหกรรมอื่น ก็มองและหมายตาสมาชิกของสมาคมการค้าของคุณว่าเป็นกลุ่มลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการจะเข้าถึง

หรืออีกด้านหนึ่ง สมาคมของคุณอาจมีอะไรบางอย่างที่เป็นที่หมายตาของภาคธุรกิจอื่น เช่น ภาพลักษณ์, งานที่สมาคมกำลังทำ เป็นต้น

กรณีเช่นนี้ สมาคมของคุณอาจได้รับการสนับสนุนจากภาคธุรกิจนั้นได้ หากค้นพบกลุ่มที่จะได้ประโยชน์จากสมาขิกเรา หรือจากสิ่งที่เรามีหรือสิ่งที่เรากำลังทำ

4.บุคคลทั่วไป :
บุคคลทั่วไปก็สามารถสนับสนุนสมาคมการค้าได้แม้ว่าบุคคลนั้นจะไม่ใช่ผู้เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมของสมาคมการค้านั้น โดยที่สมาคมการค้าจัดกิจกรรมบางอย่างโดยมุ่งเป้าไปที่บุคคลทั่วไป อย่างไรก็ตาม บุคคลทั่วไปมักเป็นผูสนับสนุนทางอ้อม เช่นการที่สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย จัดงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ เพื่อให้ผู้ประกอบการได้มาออกร้านจำหน่ายหนังสือของตนเองแก่บุคคลทั่วไป เป็นต้น

5.ชุมชน :
ชุมชนในที่นี้ หมายความรวมทั้งชุมชนทางภูมิภาค ชุมชนทางวิชาชีพ หรือแม้กระทั่งชุมชนของอุตสาหกรรม

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ผู้ประกอบการแต่ละรายไม่ได้ถูกบังคับให้เป็นสมาชิกสมาคมการค้า ดังนั้นสมาชิกของสมาคมการค้าใดๆ จึงเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของผู้ประกอบการทั้งหมด ชุมชนของอุตสาหกรรมจึงมีมากกว่าจำนวนสมาชิกของสมาคมการค้านั้น สมาคมการค้าจึงมีทางเลือกที่จะขยายขอบเขตกลุ่มเป้าหมายให้กว้างกว่าขอบเขตสมาชิก เช่นการจัดอบรมสัมมนาที่มีการเก็บค่าสมัคร การขยายคุณสมบัติของผู้สมัครให้ครอบคลุมถึงผู้ที่ไม่ใช่สมาชิก จะเป็นการเพิ่มขนาดกลุ่มเป้าหมายให้ใหญ่ขึ้น

ทั้งหมดนี้ คือชุมชนที่เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการสร้างการสนับสนุน

6.องค์การไม่หวังผลกำไรอื่น :
องค์การไม่หวังผลกำไรแต่ละแห่ง ต่างก็มีพันธกิจของตนเอง และมีทรัพยากรที่แตกต่างกัน การสร้างความร่วมมือระหว่างองค์การฯ เพื่อสนับสนุนพันธกิจของกันและกัน เป็นการใช้ทรัพยากรที่องค์การหนึ่งมีอย่างอุดมสมบูรณ์ มาเติมเต็มความต้องการ และความจำเป็นของอีกองค์การหนึ่ง

ในด้านนี้ ให้เราขยายขอบเขตเมื่อคิดถึง “รายได้” ให้มากกว่าเงิน องค์การไม่หวังผลกำไร มิได้ต้องการเงินจำนวนมากๆมาเพื่อแบ่งปันกันในหมู่สมาชิก หรือผู้บริหาร แม้แต่สมาคมการค้าเองก็ไม่ได้ต้องการเงินมากๆ พันธกิจหลักของสมาคมการค้าคือการส่งเสริมการประกอบการของสมาชิก เงินเป็นเพียงทรัพยากร(ที่มีสภาพคล่องสูง)ที่ใช้ในการผลักดันกิจกรรมให้บรรลุวัตถุประสงค์

ดังนั้น หากองค์การไม่หวังผลกำไรอื่นมีทรัพยากรบางอย่าง อย่างอุดมสมบูรณ์พร้อมจะแจกจ่ายโดยไม่อิงกับราคาตลาด และอีกองค์การหนึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ก็เหมือนกับการค้นพบแหล่งพลังงานที่สามารถต่อเข้ากับระบบโดยที่คุณไม่ต้องไปแปลงผ่านตัวกลาง คุณไม่ต้องหารายได้อื่นมาเพื่อจ่ายเป็นค่าทรัพยากรนั้นเพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมอีกทอดหนึ่ง

ถ้าคุณมีความสัมพันธ์กับสถาบันการศึกษาที่ต้องการสนับสนุนภาคเอกชน เพื่อใช้เป็น KPI ของหน่วยงาน ก็เป็นการลดความจำเป็นของสมาคมการค้าที่จะต้องสร้างรายได้จำนวนมากๆเพื่อจ้างที่ปรึกษาเอกชนสาขานั้นในราคาแพงๆ

หากสมาคมการค้ามีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน จะมองเห็นโอกาสจากทรัพยากรที่อยู่กลาดเกลื่อน ที่สามารถใช้เติมเต็มกิจกรรมเพื่อผลักดันงานตามวัตถุประสงค์ ไม่หลงทางสาละวนอยู่กับกิจกรรมเพื่อสร้างรายได้เพียงอย่างเดียว นี่จึงเป็นเหตุผลที่สมาคมการค้า หรือองค์การอื่นๆ ควรมีวิสัยทัศน์ และยุทธศาสตร์ของตัวเอง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แนวทางในการพัฒนาสมาคมการค้า

สมาคมการค้า จัดเป็นองค์การที่ไม่หวังผลกำไร ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการประกอบการของสมาชิก อย่างไรก็ตาม คุณค่าของสมาคมการค้า มิได้มีเพียงต่อผู้ประกอบการเท่านั้น สมาคมการค้ายังมีความรับผิดชอบต่อสังคม สมาคมการค้าจึงต้องจัดสมดุลระหว่างประโยชน์ของสมาชิกและสังคมส่วนรวมด้วย เพราะสังคมส่วนรวมก็คือลูกค้าของสมาชิก คือสภาพแวดล้อม หรือระบบนิเวศน์ของการประกอบการของสมาชิก แม้ว่าสมาชิกแต่ละรายอาจมิได้คำนึงถึง แต่สมาคมการค้าต้องคิดถึงผลกระทบเหล่านี้ด้วย กรรมการสมาคมการค้า จึงต้องมองภาพใหญ่กว่าสมาชิกแต่ละราย ต้องมองให้เห็นถึงระดับมหภาค นอกจากนี้ ภาครัฐนิยมขับเคลื่อนนโยบาย หรือโครงการบางอย่างผ่านสมาคมการค้า เพราะสมาคมการค้าเป็นการรวมตัว และเป็นตัวแทนของเอกชนที่เป็นผู้ประกอบการ อย่างไรก็ตาม ในหลายๆครั้ง หลายๆโครงการที่ไม่ประสบความสำเร็จ สาเหตุหนึ่งมาจากปัญหาเรื่องความไม่เข้มแข็งของสมาคมการค้านั้น ความเข้มแข็งของสมาคมการค้า สะท้อนออกมาในรูปของการจูงใจให้สมาชิกกระทำการบางอย่าง ที่สมาชิกไม่ยอมกระทำในสถานการณ์ปกติ หากสมาคมการค้าไม่เข้มแข็งเพียงพอ ก็ไม่สามารถชักจูงสมาชิกให้ทำเรื่องยากๆ การพัฒ

5 ขั้นตอนการสร้างอาสาสมัครในสมาคม และองค์การไม่หวังผลกำไรอื่น

ขั้นตอนการสร้างระบบอาสาสมัครให้เกิดขึ้นภายในสมาคม และองค์การที่ไม่หวังผลกำไรอื่น ให้ประสบความสำเร็จนั้น ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนใหญ่ ดังนี้ 1. การวางแผน ก่อนอื่น ต้องทำความเข้าใจกับความต้องการขององค์การเองก่อนว่า เรามีนโยบายอะไร เราหวังอะไรจากการมีอาสาสมัคร เมื่อเราเข้าใจตัวเองแล้ว จึงมาทำความเข้าใจกับตำแหน่งงานที่ต้องการอาสาสมัคร แล้วทำกระบวนการออกแบบงาน เพื่อให้ได้รายละเอียดของงานนั้นๆ เป็นต้นว่า จุดมุ่งหมายของงานนั้น คุณสมบัติของผู้จะทำหน้าที่นี้ ทักษะที่จำเป็น วันเวลาระยะเวลาพื้นที่การทำงาน อำนาจหน้าที่ต่างๆ คำอธิบายงาน เป็นต้น 2. การสรรหาและคัดเลือก เมื่อได้รายละเอียดต่างๆของงาน ก็จะนำไปสู่ขั้นต่อไป คือการทำความเข้าใจกับกลุ่มผู้มีคุณสมบัติเป็นอาสาสมัคร เป็นต้นว่า เขามุ่งหวังอะไร อะไรเป็นเหตุจูงใจให้เขามาเป็นอาสาสมัคร จะสื่อสารกับพวกเขาได้อย่างไร จากนั้นก็สื่อสารออกไปเชิญชวนให้มาสมัคร เพื่อที่สมาคมจะได้คัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติตรงกับรายละเอียดของตำแหน่งที่ได้ทำไว้ในข้อหนึ่ง 3. ปฐมนิเทศน์และฝึกอบรม เมื่อได้อาสาสมัครตามที่วางแผนไว้แล