ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การ "ทำกำไร" ของสมาคม

ปัญหาใหญ่ในการบริหารสมาคมเรื่องหนึ่งก็คือ การหารายได้ รายได้เป็นข้อจำกัดสำคัญเรื่องหนึ่งในการลดความสามารถในการสร้างกิจกรรมออกมาเพื่อสมาชิก

รายได้หลักของสมาคมส่วนใหญ่จะมาจากการค่าธรรมเนียมสมาชิก หากจะเพิ่มรายได้ด้วยการเพิ่มอัตราค่าธรรมเนียมนี้ สมาชิกต้องไม่พอใจ และอาจส่งผลถึงจำนวนสมาชิก

ในทางปฏิบีติ สมาคมยังสามารถหารายได้เพิ่มจากช่องทางที่ไม่ใช่ค่าธรรมเนียม (Non-dues)  ซึ่งจะเป็นการหารายได้เชิงพาณิชย์ คล้ายๆกับการประกอบธุรกิจ

แต่เรามักติดบทนิยามของสมาคม และสมาคมการค้า ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้

"มาตรา ๗๘ การก่อตั้งสมาคมเพื่อกระทําการใดๆ อันมีลักษณะต่อเนื่องร่วมกัน และมิใช่เป็นการหาผลกําไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน ต้องมีข้อบังคับและจดทะเบียนตาม บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้" (ประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์)

"สมาคมการค้า” หมายความว่า สถาบันที่บุคคลหลายคนซึ่งเป็นผู้ประกอบวิสาหกิจจัดตั้งขึ้นเพื่อทําการส่งเสริมการประกอบวิสาหกิจอันมิใช่เป็นการหาผลกําไรหรือรายได้ แบ่งปันกัน (มาตรา 4 พระราชบัญญัติสมาคมการค้า 2509)

เรามักจะเข้าใจว่า กฏหมายห้าม ไม่ให้สมาคม "แสวงหากำไร" แต่ในความเป็นจริง กฏหมายอนุญาตให้สมาคม "ทำกำไร" ได้ แต่สิ่งที่ต้องห้ามตามกฏหมายทั้งสองฉบับคือ การนำกำไรมาแบ่งปันกัน

สมาคมทำกำไรได้ แต่กำไรต้องเป็นของสมาคม ไม่สามารถมาแบ่ง หรือปันผลกันแบบเดียวกับธุรกิจ

แต่สมาคม หรือสมาคมการค้า มิได้เป็นนิติบุคคลที่กฏหมายต้องการให้จัดตั้งขึ้นเพื่อการประกอบวิสาหกิจ เหมือนอย่างบริษัท หรือห้างหุ้นส่วน ตรงกันข้าม ในบทนิยามของสมาคมการค้าได้บอกไว้ชัดเจนว่าจัดตั้งขึ้น "เพื่อทําการส่งเสริมการประกอบวิสาหกิจ"

อีกทั้ง ในมาตรา 21 (1) แห่งพระราชบัญญัติสมาคมการค้า 2509 ได้ระบุข้อห้ามกระทำของสมาคมการค้าไว้ว่า "ประกอบวิสาหกิจโดยสมาคมการค้านั้นเอง หรือเข้าดําเนินการในการประกอบวิสาหกิจของสมาชิก หรือเข้ามีส่วน ถือหุ้น เป็นหุ้นส่วน หรือร่วมทุนในการประกอบ วิสาหกิจกับบุคคลใด ๆ เว้นแต่เป็นการถือตราสารหนี้ หรือเข้าถือหุ้นในบริษัทที่จดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์ที่มีผู้บริจาคหรือมอบให้แก่สมาคมการค้า"

แปลความได้ว่า ห้ามตั้งหน้าตั้งตาทำธุรกิจ(จนลืมวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งสมาคม), ห้ามเข้าทำธุรกิจของสมาชิก, ห้ามมีหุ้น หรือถือหุ้นในการประกอบธุรกิจ ยกเว้นตราสารหนี้เช่นหุ้นกู้ การถือหุ้นในบริษัทในตลาดหลักทรัพย์สามารถทำได้เมื่อมีผู้อื่นมอบให้สมาคมการค้า

นี่คือแนวทางในการหารายได้ในเชิงพาณิชย์ของสมาคม และสมาคมการค้า

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

6 แหล่งรายได้ของสมาคม

สมาคมการค้าส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องขนาดงบประมาณที่จะใช้ในการผลักดันกิจกรรมของสมาคม ครั้นจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มจากสมาชิก สมาขิกก็มักจะไม่ยินยอมให้เก็บเพิ่ม สมาคมการค้าจึงมักจะต้องใช้วิธีปรับลดกิจกรรมตามแผนงานลง ปัญหาเช่นนี้มักเกิดขึ้นกับองค์การที่ไม่หวังผลกำไรอื่นประเภทที่เน้นบทบาทของสมาชิกด้วย อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาดีๆ สมาชิกไม่ใช่แหล่งรายได้เดียวของสมาคมการค้า เมื่อจำแนกรายได้ของสมาคม จากเจ้าของเงิน เราสามารถแบ่งได้เป็น 1.สมาชิก :  สมาชิกเป็นแหล่งรายได้แรกๆที่สมาคมจะคิดถึง อย่างไรก็ตาม สมาคมสามารถได้รับรายได้จากสมาชิก ไม่เพียงแต่ในรูปแบบของค่าธรรมเนียมเท่านั้น สมาคมยังสามารถสร้างสรรค์บริการอื่นที่ตรงใจสมาชิก เพื่อรับค่าบริการเป็นการตอบแทน เช่นการอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพของสมาชิก, การจัดกิจกรรมเพื่อสร้างโอกาสทางการตลาดแก่สมาชิก เป็นต้น 2.ภาครัฐ :  องค์การไม่หวังผลกำไร เกิดขึ้นจากการที่รัฐบาลไม่สามารถดูแลงานภาคสังคมได้ทั่วถึง จึงเกิดการรวมตัวกันของชุมชนเข้ามาช่วยจัดการแทนภาครัฐ ดังนั้นภาครัฐจึงสนับสนุนงบประมาณและอื่นๆ เป็นการตอบแทนการทำหน้าที่แทนรัฐบาลขององค์การไม่แสวงหากำไร

เหตุผลที่ภาครัฐนิยมติดต่อกับสมาคมการค้า

จุดเริ่มต้นของสมาคมการค้าจำนวนมาก มักก่อตัวจากกการมีความสนใจหรือปัญหาร่วมกัน จึงรวมตัวกันเป็นกลุ่มเครือข่าย หรือชมรมฯ และเมื่อผ่านการทำกิจกรรมติดต่อกับภาครัฐระยะหนึ่ง กลุ่มเครื่อข่ายนั้น มักได้รับคำแนะนำจากภาครัฐ ให้ดำเนินการจัดตั้งเป็นสมาคมการค้า ในด้านหนึ่งก็เพื่อให้กลุ่มเครือข่ายนั้นมีตัวตนตามกฏหมายเป็นนิติบุคคลหนึ่งที่ภาครัฐจะติดต่อทำธุรกรรมได้เป็นกิจจะลักษณะ อย่างไรก็ตาม ยังมีเหตุผลอื่นอีก โดยเฉพาะสมาคมการค้าที่ผ่านการจัดตั้งระยะหนึ่ง มีกลไกการทำงานของตัวเองแล้ว และนี่คือเหตุผลที่ภาครัฐนิยมในการติดต่อกับสมาคมการค้า 👉 เป็นตัวแทนของหน่วยจ้างงานของประเทศ สมาคมการค้าเป็นตัวแทนของสมาชิกผู้ประกอบการ ที่เป็นหน่วยย่อยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการจ้างงานทั่วไป จึงมีผลต่อเศรษฐกิจของประเทศ ในขณะที่รัฐบาลต้องการส่งเสริมธุรกิจ ให้มีการลงทุน ให้เกิดการจ้างงาน ประชาชนมีงานทำ มีการใช้จ่าย ธุรกิจจึงจะดำเนินต่อไปได้อันเป็นที่มาของภาษีที่รัฐจัดเก็บ ภาครัฐจึงอาศัยสมาคมการค้าที่เป็นตัวแทนผู้ประกอบการ เป็นช่องทางหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามนโยบายของภาครัฐได้ 👉 เป็นคู่เจรจาที่น่าเชื่อถ

แนวทางในการพัฒนาสมาคมการค้า

สมาคมการค้า จัดเป็นองค์การที่ไม่หวังผลกำไร ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการประกอบการของสมาชิก อย่างไรก็ตาม คุณค่าของสมาคมการค้า มิได้มีเพียงต่อผู้ประกอบการเท่านั้น สมาคมการค้ายังมีความรับผิดชอบต่อสังคม สมาคมการค้าจึงต้องจัดสมดุลระหว่างประโยชน์ของสมาชิกและสังคมส่วนรวมด้วย เพราะสังคมส่วนรวมก็คือลูกค้าของสมาชิก คือสภาพแวดล้อม หรือระบบนิเวศน์ของการประกอบการของสมาชิก แม้ว่าสมาชิกแต่ละรายอาจมิได้คำนึงถึง แต่สมาคมการค้าต้องคิดถึงผลกระทบเหล่านี้ด้วย กรรมการสมาคมการค้า จึงต้องมองภาพใหญ่กว่าสมาชิกแต่ละราย ต้องมองให้เห็นถึงระดับมหภาค นอกจากนี้ ภาครัฐนิยมขับเคลื่อนนโยบาย หรือโครงการบางอย่างผ่านสมาคมการค้า เพราะสมาคมการค้าเป็นการรวมตัว และเป็นตัวแทนของเอกชนที่เป็นผู้ประกอบการ อย่างไรก็ตาม ในหลายๆครั้ง หลายๆโครงการที่ไม่ประสบความสำเร็จ สาเหตุหนึ่งมาจากปัญหาเรื่องความไม่เข้มแข็งของสมาคมการค้านั้น ความเข้มแข็งของสมาคมการค้า สะท้อนออกมาในรูปของการจูงใจให้สมาชิกกระทำการบางอย่าง ที่สมาชิกไม่ยอมกระทำในสถานการณ์ปกติ หากสมาคมการค้าไม่เข้มแข็งเพียงพอ ก็ไม่สามารถชักจูงสมาชิกให้ทำเรื่องยากๆ การพัฒ