ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทบาทของเลขาฯสมาคม

เลขาฯคณะกรรมการบริหารสมาคม มีบทบาทมากกว่าที่คิด

เรามักคุ้นกับบทบาทของเลขาฯ เฉพาะบทบาทในการประชุม อันที่จริงบทบาทของเลขาฯสมาคมยังครอบคลุมด้านอื่นๆอีก

บทบาทแรก เกี่ยวกับการประชุม เลขาฯคณะกรรมการ มีบทบาทตั้งแต่การจัดเตรียมวาระการประชุม ร่วมกับนายกสมาคม การหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่จะพิจารณา เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการ หากในระหว่างประชุม ที่ประชุมมีข้อมูลที่ถูกต้อง และรอบด้านเพียงพอที่จะลงมติ ก็จะไม่ต้องรอให้เนิ่นช้าออกไป

ในระหว่างการประชุม หน้าที่บันทึกผลการพิจารณาของคณะกรรมการ เพื่อนำมาจัดทำรายงานการประชุม ก็เป็นหน้าที่ของเลขาฯ

บทบาทที่สอง เกี่ยวกับเอกสาร เลขาฯมีหน้าที่เก็บรักษา, ใช้ และปรับปรุงเอกสารสำคัญของสมาคม ไม่ว่าจะเป็นทะเบียนต่างๆ ใบอนุญาต ข้อบังคับสมาคม

สมาคมมักมีระเบียบปฏิบัติ หรือข้อกำหนดบางอย่างที่คณะกรรมการมีมติออกมาใช้กับกรณีที่เข้าเงื่อนไขในเรื่องนั้นๆ เช่น สวัสดิการสมาชิก ค่าเดินทาง การจัดหมวดหมู่ให้กับระเบียบปฏิบัติเหล่านี้ ให้สืบค้นง่าย ก็จะเป็นหลักให้อ้างอิงวิธีปฏิบัติในอนาคต เพื่อให้มติที่ประชุมได้รับการถือปฏิบัติ

บทบาทที่สาม การกำกับติดตาม โดยปกติในที่ประชุมคณะกรรมการ จะมีมติ หรือมอบหมายงานในเรื่องต่างๆ หากไม่มีการติดตามผล มติของที่ประชุมจะกลายเป็นสิ่งไร้ความหมาย แนวคิด นโยบายต่างๆไม่ถูกเปลี่ยนเป็นการปฏิบัติ เลขาฯจึงมีหน้าที่ในการกำกับติดตามการปฏิบัติตามมติที่ประชุม เพื่อนำมาแจ้งให้คณะกรรมการรับทราบต่อไป

บทบาทที่สี่ เป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสาร เลขาฯจะเป็นศูนย์กลางข้อมูล การไหลของข้อมูล การติดต่อสื่อสารทั้งภายในและภายนอกสมาคม จะต้องผ่านเลขาฯเสมอ เลขาฯจึงเป็นผู้ที่มีข้อมากที่สุด

บทบาทที่ห้า การถ่ายงานออกจากกระเป๋าของนายกสมาคม โดยปกตินายกสมาคมจะเป็นตัวหลักที่ต้องออกสู่ภายนอก ในแต่ละครั้งที่ออกไป จะมีข้อมูล และเรื่องราวต่างๆกลับมาเสมอ บางครั้งอาจเป็นเพียงข้อมูลที่ยังไม่รู้วิธีใช้ แต่บางครั้งอาจเป็นวิกฤติหรือโอกาสที่ต้องได้รับการจัดการต่อไป สิ่งเหล่านี้ หากไม่ได้รับการถ่ายออกจากหัวของนายกสมาคม เพื่อรับการจัดการต่อที่เหมาะสม มันก็จะเป็นสิ่งรบกวนใจ เหมือนนักเทนนิส ที่เอาแต่ยัดลูกเทนนิสใส่กระเป๋ากางเกง โดยไม่เอาออกเสียบ้าง ก็จะทำให้เคลื่อนไหวลำบาก สิ่งรบกวนใจแม้เต็นนามธรรม แต่ก็มีพลังในการขัดขวางการทำงานไม่แพ้บูกเทนนิสในกระเป๋าการเกง

เลขาฯ มักเป็นผู้ทำงานใกล้ชิดกับนายกสมาคม จึงเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมในการเป็นแหล่งพักของข้อมูล และงาน ก่อนที่จะกระจายต่อให้กับผู้รับผิดชอบที่เหมาะสม

บทบาทที่หก อื่นๆ เช่นการทำปฏิทินกิจกรรมของสมาคม

บทบาทของเลขาฯสมาคม มีมาก ซึ่งปกติ เลขาฯ มักเป็นกรรมการสมาคมคนหนึ่งซึ่งก็คือผู้ประกอบการที่อาสาใช้เวลาว่างส่วนหนึ่งเข้ามาช่วยบริหารสมาคม จึงยากที่อาสาสมัครเพียงคนเดียวจะทำได้ตามนี้ อีกทางเลือกหนึ่งก็คือ การใช้ทีมเลขา หลายๆคนแบ่งงานกันทำ และใช้เทคโนโลยีเข้าช่วย

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Funding Model เพื่อการบริหารชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถีอย่างยั่งยืน

นวัตวิถีคือโครงการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้เกิดรายได้กับชุมชน โดยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างทั่วถึง กระตุ้นเศรษฐกิจและสังคมภายในประเทศให้มีความเข้มแข็ง เป็นโครงการที่ผนวกโครงการ OTOP เข้ากับการท่องเที่ยว โดยสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวเมืองรองขึ้น แล้วส่งนักท่องเที่ยวเข้าชุมชน แทนที่จะดึงวิสาหกิจออกจากชุมชนสู่เมืองอย่างที่โอท็อปเคยทำด้วยการจัดงานแฟร์ แล้วให้สินค้าชุมชนต่างๆเหล่านี้มาออกร้านขายของปีละสามสี่เดือน ส่วนที่เหลืออีกปีละแปดเก้าเดือน ก็เคว้ง ว่างงาน กับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป งานของโครงการชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถี เริ่มตั้งแต่การค้นหาจุดเด่นของชุมชน ดึงมาพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว สร้างเรื่องราว เรื่องเล่า ผสานกับการให้ความรู้กับชุมชนในการสร้างรายรับจากนักท่องเที่ยวที่เข้าสู่ชุมชน นวัตวิถี จึงเป็นโครงการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ภายใต้วิถีชีวิตปกติของชุมชนเอง อย่างไรก็ตาม หากต้องการทำให้โครงการมีความยั่งยืน ต้องมีการจัดการเพื่อให้การบริหารโครงการมีความต่อเนื่อง จำเป็นต้องมีการบำรุงรักษาและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว การรักษาความสะอาด การรักษาความปลอดภัย การพัฒนาสินค้าและบริการให้มีความว้าว

ภาษีเงินได้ของสมาคม สมาคมการค้า และมูลนิธิ

มูลนิธิ สมาคม และสมาคมการค้า จัดเป็นองค์การไม่แสวงหากำไร แต่ไม่ถือว่าเป็นองค์การที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล จนกว่าจะได้รับการประกาศให้เป็นสถานสาธารณกุศลตามประมวลรัษฎากร มาตรา 47(7)(ข) องค์การไม่แสวงหากำไรที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่ไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้เหล่านี้ ต้องเสียภาษีเงินได้ โดยคำนวณจากเงินได้ที่ได้รับก่อนหักค่าใช้จ่าย เนื่องจากองค์การเหล่านี้ ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าไม่หวังผลกำไรอย่างหน่วยธุรกิจทั่วไป ด้งนั้น องค์การไม่หวังผลกำไรแม้จะมีรายได้ และรายจ่า ย แต่หลักในการคำนวณภาษีเงินได้ จะคำนวณจากฐานคือเงินได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายใดๆ สำหรับอัตราภาษีขององค์การไม่หวังผลกำไรเหล่านี้ มีดังนี้ - กรณีเงินได้มาตรา 40(1)-(7) อัตราภาษีอยู่ที่ 10% ของเงินได้ - กรณีเงินได้มาตรา 40(8) เงินได้จากการพาณิชย์ อัตราภาษีอยู่ที่ 2% 🤞 🤞 🤞 ทั้งนี้ มีข้อยกเว้นไม่ต้องนำเงินได้มารวมคำนวณภาษีใน 3 กรณีคือ 1. ค่าธรรมเนียม หรือค่าบำรุงที่เก็บจากสมาชิก 2. เงินบริจาค 3. เงินได้โดยเสน่หา วางแผนการจัดตั้งสมาคมของคุณให้สอดคล้องกับภาระภาษีด้วยนะ จะได้มีเงินไว้สร้างกิจกรรมตามวัตถุประสง

3 ข้อดีของการใช้อาสาสมัครในสมาคม และองค์การไม่หวังผลกำไร

องค์การไม่หวังผลกำไร อย่างเช่น # มูลนิธิ # สมาคม # สมาคมการค้า มีจุดเด่นหนึ่งที่เหนือกว่าหน่วยธุรกิจ นั่นคือความสามารถในการใช้ประโยชน์จากอาสาสมัคร อาสาสมัคร คือบุคลากรที่เป็นมืออาชีพในงานปกติที่อาสาสมัครเหล่านี้ทำงานเพื่อรับค่าตอบแทน แต่อาสาสมัครเหล่านี้กลับยินดีที่จะใช้ความรู้ความสามารถที่มี มาทำงานให้แก่องค์การไม่หวังผลกำไร โดยที่ค่าตอบแทนไม่ใช่ปัจจัยจูงใจ 3 ข้อดีของการใช้อาสาสมัครในองค์การไม่หวังผลกำไร 1. ลดภาระทางการเงิน ปัญหาใหญ่เรื่องหนึ่งของหลายๆสมาคมการค้า นั่นคือความจำกัดของงบประมาณที่จะใช้ในการทำกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ ในขณะที่มีกิจกรรมตามพันธกิจมากมายเหลือเกินที่ต้องทำ บ่อยครั้งที่ความไม่สัมพันธ์กันเช่นนี้ ทำให้สมาคมเหล่านี้ ต้องปรับลด หรือละทิ้งพันธกิจของตนเองไป อย่างที่กล่าวข้างต้น อาสาสมัคร คือผู้ที่ต้องการอุทิศความรู้ความสามารถของตนเองให้กับการทำงานเพื่อส่วนรวม โดยที่เงินไม่ใช่ตัวตั้ง ดังนั้น สมาคม หรือองค์การที่ไม่หวังผลกำไรอื่นๆที่มองเห็นความจริงข้อนี้ และสามารถทำให้องค์การ เป็นที่สะดุดตาของอาสาสมัครเหล่านี้ ก็จะได้มืออาชีพม