ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

พันธกิจ : ต้นทางของความสำเร็จของสมาคม

การกำหนดพันธกิจที่ชัดเจนและเหมาะสม เป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จในการบริหารสมาคม
พันธกิจ คือคำแถลงความมุ่งประสงค์ขององค์การ ซึ่งพันธกิจที่ดีควรชี้นำการกระทำขององค์การ ขยายความเป้าหมายโดยรวมทั้งหมด จัดเตรียมหนทางและชี้นำการตัดสินใจ พันธกิจเป็นการจัดเตรียม "ข่ายงานหรือบริบทภายในแผนกลยุทธ์ของบริษัทที่ได้กำหนดไว้
องค์ประกอบที่ควรมีในพันธกิจของสมาคม ประกอบด้วย
- กลุ่มเป้าหมายที่สมาคมต้องการจะสร้างประโยชน์ให้ การกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน ทำให้สามารถกำหนดคุณค่าที่จะส่งมอบให้ตรงความต้องการ และวิธีการเข้าถึงที่มีประสิทธิภาพ กลุ่มเป้าหมายของสมาคมมักเป็นสมาชิก แต่ถ้าระบุกลุ่มเป้าหมายด้วยคำแสดงคุณลักษณะของสมาชิก จะทำให้สมาคมสามารถขยายฐานสมาชิกออกไปได้มากกว่า
- คุณค่าที่ส่งมอบ เป็นการระบุว่ากลุ่มเป้าหมายจะได้รับประโยชน์อะไรจากการดำเนินการของสมาคม คุณค่าที่ชัดเจน นอกจากทำให้สมาชิกหรือกลุ่มที่สมาคมคาดหมายว่าจะเป็นสมาชิก จะทราบว่าจะสามารถคาดหวังอะไรจากการเป็นสมาชิกของสมาคมได้บ้าง ทั้งยังเป็นโจทย์ตั้งต้นของสมาคมในการสร้างโครงการหรือกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้คุณค่าที่จะส่งมอบนั้นผลิออกมาเป็นรูปธรรม
- วิธีการส่งมอบคุณค่า เป็นวิธีการที่สมาคมจัดสรรคุณค่านั้นให้แก่กลุ่มเป้าหมาย เป็นการขยายความของคุณค่าซึ่งเป็นนามธรรม
- ความแตกต่าง หากมีสมาคมอื่นที่ดำเนินกิจกรรมใกล้เคียงกับสมาคมของคุณ การระบุความแตกต่างจากสมาคมอื่น จะทำให้การดำเนินงานมีความแตกต่างที่ชัดเจนขึ้น

พันธกิจของสมาคม
สมาคมมีความแตกต่างจากองค์การทางธุรกิจซึ่งชัดเจนอยู่แล้วว่าหวังผลกำไร แม้ว่าสมาคมจะเป็นหน่วยงานไม่หวังผลกำไร แต่สมาคมก็ต้องการรายได้มาใช้จ่ายในการดำเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งสมาคม การหวังพึ่งเพียงรายได้จากค่าธรรมเนียมสมาชิก ย่อมไม่เพียงพอกับกิจกรรมตามพันธกิจ ครั้นจะเพิ่มอัตราค่าธรรมเนียมจากสมาชิก ก็ย่อมไม่เป็นที่พอใจนัก พันธกิจในทางปฏิบัติของสมาคมส่วนใหญ่จึงแบ่งได้เป็นสองกลุ่มใหญ่คือ
1. พันธกิจที่สืบเนื่องจากวัตถุประสงค์ของสมาคม
2. พันธกิจที่เกี่ยวกับการหารายได้

 3 เงื่อนไขสู่การสร้างพันธกิจที่มีประสิทธิภาพของสมาคม
1. ความสอดคล้องกับโอกาส
2. ความสามารถของสมาคมที่สอดคล้องกับพันธกิจ
3. ความมุ่งมั่นของสมาคมที่จะผลักดันให้พันธกิจบรรลุผล

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

6 แหล่งรายได้ของสมาคม

สมาคมการค้าส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องขนาดงบประมาณที่จะใช้ในการผลักดันกิจกรรมของสมาคม ครั้นจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มจากสมาชิก สมาขิกก็มักจะไม่ยินยอมให้เก็บเพิ่ม สมาคมการค้าจึงมักจะต้องใช้วิธีปรับลดกิจกรรมตามแผนงานลง ปัญหาเช่นนี้มักเกิดขึ้นกับองค์การที่ไม่หวังผลกำไรอื่นประเภทที่เน้นบทบาทของสมาชิกด้วย อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาดีๆ สมาชิกไม่ใช่แหล่งรายได้เดียวของสมาคมการค้า เมื่อจำแนกรายได้ของสมาคม จากเจ้าของเงิน เราสามารถแบ่งได้เป็น 1.สมาชิก :  สมาชิกเป็นแหล่งรายได้แรกๆที่สมาคมจะคิดถึง อย่างไรก็ตาม สมาคมสามารถได้รับรายได้จากสมาชิก ไม่เพียงแต่ในรูปแบบของค่าธรรมเนียมเท่านั้น สมาคมยังสามารถสร้างสรรค์บริการอื่นที่ตรงใจสมาชิก เพื่อรับค่าบริการเป็นการตอบแทน เช่นการอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพของสมาชิก, การจัดกิจกรรมเพื่อสร้างโอกาสทางการตลาดแก่สมาชิก เป็นต้น 2.ภาครัฐ :  องค์การไม่หวังผลกำไร เกิดขึ้นจากการที่รัฐบาลไม่สามารถดูแลงานภาคสังคมได้ทั่วถึง จึงเกิดการรวมตัวกันของชุมชนเข้ามาช่วยจัดการแทนภาครัฐ ดังนั้นภาครัฐจึงสนับสนุนงบประมาณและอื่นๆ เป็นการตอบแทนการทำหน้าที่แทนรัฐบาลขององค์การไม่แสวงหากำไร

5 เหตุผลที่สมาคมการค้าต้องทำโมเดลธุรกิจของตัวเอง

สมาคมการค้า เป็นที่รวมของผู้ประกอบการในธุรกิจเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน เพื่อสร้างความร่วมมือ โดยหวังผลจากพลังผนึกที่ให้ผลหนึ่งบวกหนึ่งที่มากกว่าสอง แต่ในความเป็นจริงอาจไม่เป็นเหมือนดังที่คิด หลายๆสมาคมอาจกลายเป็นเพียงกลุ่มสังสรรค์นัดรับประทานอาหารกันตามโอกาส หรือแม้แต่กระทั่ง การดำเนินกิจกรรมของบางสมาคมการค้าที่เหมือนจะแข่งกับธุรกิจของสมาชิกโดยตรง การทำโมเดลธุรกิจ เป็นคำตอบที่ช่วยให้สมาคมได้ทบทวนสิ่งที่กำลังทำอยู่ 👉 โมเดลธุรกิจคืออะไร ? โมเดลธุรกิจ คือโครงสร้างหรือแนวทางการทำงานของสมาคม ซึ่งในโมเดลธุรกิจจะบอกว่าสมาคมของคุณจะทำอะไร ให้กับใคร อย่างไร ด้วยทรัพยากรหรือความสามารถอะไร หลายๆหน่วยงานอาจจะคุ้นเคยกับแผนธุรกิจหรือแผนงานที่อาจมีการเปลี่ยนแผนบ่อยๆ แต่โมเดลธุรกิจของแต่ละหน่วยงานจะไม่เปลี่ยนโดยง่าย 👉 5 เหตุผลที่สมาคมการค้าต้องทำโมเดลธุรกิจของตัวเอง 1. ถ้าไม่ตอบสนองความต้องการของสมาชิก สมาคมจะสูญเสียฐานค้ำยัน ทุกสมาคมการค้า มีสมาชิกเป็นรากฐานสำคัญที่ค้ำยันความจำเป็นของการมีสมาคมการค้านั้นๆ และสมาชิกก็หวังความช่วยเหลือหรือประโยชน์บางอย่างจากสมาคมการค้านั้น หากสมาคมไม่สามาร

Funding Model เพื่อการบริหารชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถีอย่างยั่งยืน

นวัตวิถีคือโครงการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้เกิดรายได้กับชุมชน โดยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างทั่วถึง กระตุ้นเศรษฐกิจและสังคมภายในประเทศให้มีความเข้มแข็ง เป็นโครงการที่ผนวกโครงการ OTOP เข้ากับการท่องเที่ยว โดยสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวเมืองรองขึ้น แล้วส่งนักท่องเที่ยวเข้าชุมชน แทนที่จะดึงวิสาหกิจออกจากชุมชนสู่เมืองอย่างที่โอท็อปเคยทำด้วยการจัดงานแฟร์ แล้วให้สินค้าชุมชนต่างๆเหล่านี้มาออกร้านขายของปีละสามสี่เดือน ส่วนที่เหลืออีกปีละแปดเก้าเดือน ก็เคว้ง ว่างงาน กับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป งานของโครงการชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถี เริ่มตั้งแต่การค้นหาจุดเด่นของชุมชน ดึงมาพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว สร้างเรื่องราว เรื่องเล่า ผสานกับการให้ความรู้กับชุมชนในการสร้างรายรับจากนักท่องเที่ยวที่เข้าสู่ชุมชน นวัตวิถี จึงเป็นโครงการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ภายใต้วิถีชีวิตปกติของชุมชนเอง อย่างไรก็ตาม หากต้องการทำให้โครงการมีความยั่งยืน ต้องมีการจัดการเพื่อให้การบริหารโครงการมีความต่อเนื่อง จำเป็นต้องมีการบำรุงรักษาและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว การรักษาความสะอาด การรักษาความปลอดภัย การพัฒนาสินค้าและบริการให้มีความว้าว