ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

2 โมเดลธุรกิจของหน่วยงานไม่หวังผลกำไร

หน่วยงานไม่หวังผลกำไรนี้ หมายถึงหน่วยงานไม่ว่าจะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เช่น มูลนิธิ, สมาคม, สหกรณ์, สมาพันธ์, สภา  หรือไม่ได้จดทะเบียนหากแต่มีการดำเนินกิจกรรมเพื่อส่วนรวม เช่น กองทุน, กลุ่มวิสาหกิจชุมชน หรือแม้แต่ที่เพิ่งเกิดขึ้นอย่างชุมชนท่องเที่ยวหมู่บ้านนวัตวิถีก็ตาม

หน่วยงานเหล่านี้มีความเหมือนกันคือ มิได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อสร้างผลกำไรมาแบ่งปันกัน แต่มีวัตถุประสงค์ของตัวเองโดยเฉพาะ เช่น

สมาคมการค้า ตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการประกอบการของสมาชิก,
มูลนิธิตั้งขึ้นเพื่อการกุศลสาธารณะ การศาสนา ศิลปะ วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษา หรือเพื่อสาธารณะประโยชน์อย่างอื่น
สมาคมกีฬา ตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการกีฬา
สมาคมวิชาชีพ ตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมวิชาชีพ
หมู่บ้านนวัตวิถี ตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในชุมชน
เหล่านี้ เป็นต้น

วัตถุปรสงค์เหล่านี้ เป็นงานหลักที่ต้องนำมาใช้ในการสร้างโมเดลธุรกิจของหน่วยงานไม่หวังผลกำไร อย่างไรก็ตาม หน่วยงานไม่หวังผลกำไรจะไม่สามารถขับเคลื่อนกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ได้ หรือไปได้ไม่ไกลนัก หากไม่สามารถตอบโจทย์ได้ว่า จะใช้ทุนจากไหนในการดำเนินกิจกรรมเหล่านี้

ด้วยเหตุนี้ หน่วยงานไม่หวังผลกำไร จึงต้องมีโมเดลธุรกิจย่อย อย่างน้อยสองโมเดลธุรกิจ โมเดลธุรกิจแรกคือ โมเดลธุรกิจตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน ดังที่กล่าวมาแล้ว

ส่วนโมเดลธุรกิจที่สองคือ โมเดลธุรกิจเพื่อตอบคำถามว่า จะหาเงินจากไหนมาขับเคลื่อนกิจกรรมตามโมเดลธุรกิจแรก

สองโมเดลนี้ต้องมีอยู่ในโมเดลธุรกิจใหญ่ของทุกหน่วยงานที่ไม่หวังผลกำไร หากหวังจะขับเคลื่อนกิจกรรมให้บรรลุตามวัตถุประสงค์

นี่เป็นความแตกต่างจากหน่วยงานที่หวังผลกำไร ที่มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนคือ หากำไร จึงมักมีโมเดลหลักเพียงโมเดลเดียวคือ การสร้างผลกำไร

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

6 แหล่งรายได้ของสมาคม

สมาคมการค้าส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องขนาดงบประมาณที่จะใช้ในการผลักดันกิจกรรมของสมาคม ครั้นจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มจากสมาชิก สมาขิกก็มักจะไม่ยินยอมให้เก็บเพิ่ม สมาคมการค้าจึงมักจะต้องใช้วิธีปรับลดกิจกรรมตามแผนงานลง ปัญหาเช่นนี้มักเกิดขึ้นกับองค์การที่ไม่หวังผลกำไรอื่นประเภทที่เน้นบทบาทของสมาชิกด้วย อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาดีๆ สมาชิกไม่ใช่แหล่งรายได้เดียวของสมาคมการค้า เมื่อจำแนกรายได้ของสมาคม จากเจ้าของเงิน เราสามารถแบ่งได้เป็น 1.สมาชิก :  สมาชิกเป็นแหล่งรายได้แรกๆที่สมาคมจะคิดถึง อย่างไรก็ตาม สมาคมสามารถได้รับรายได้จากสมาชิก ไม่เพียงแต่ในรูปแบบของค่าธรรมเนียมเท่านั้น สมาคมยังสามารถสร้างสรรค์บริการอื่นที่ตรงใจสมาชิก เพื่อรับค่าบริการเป็นการตอบแทน เช่นการอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพของสมาชิก, การจัดกิจกรรมเพื่อสร้างโอกาสทางการตลาดแก่สมาชิก เป็นต้น 2.ภาครัฐ :  องค์การไม่หวังผลกำไร เกิดขึ้นจากการที่รัฐบาลไม่สามารถดูแลงานภาคสังคมได้ทั่วถึง จึงเกิดการรวมตัวกันของชุมชนเข้ามาช่วยจัดการแทนภาครัฐ ดังนั้นภาครัฐจึงสนับสนุนงบประมาณและอื่นๆ เป็นการตอบแทนการทำหน้าที่แทนรัฐบาลขององค์การไม่แสวงหากำไร

เหตุผลที่ภาครัฐนิยมติดต่อกับสมาคมการค้า

จุดเริ่มต้นของสมาคมการค้าจำนวนมาก มักก่อตัวจากกการมีความสนใจหรือปัญหาร่วมกัน จึงรวมตัวกันเป็นกลุ่มเครือข่าย หรือชมรมฯ และเมื่อผ่านการทำกิจกรรมติดต่อกับภาครัฐระยะหนึ่ง กลุ่มเครื่อข่ายนั้น มักได้รับคำแนะนำจากภาครัฐ ให้ดำเนินการจัดตั้งเป็นสมาคมการค้า ในด้านหนึ่งก็เพื่อให้กลุ่มเครือข่ายนั้นมีตัวตนตามกฏหมายเป็นนิติบุคคลหนึ่งที่ภาครัฐจะติดต่อทำธุรกรรมได้เป็นกิจจะลักษณะ อย่างไรก็ตาม ยังมีเหตุผลอื่นอีก โดยเฉพาะสมาคมการค้าที่ผ่านการจัดตั้งระยะหนึ่ง มีกลไกการทำงานของตัวเองแล้ว และนี่คือเหตุผลที่ภาครัฐนิยมในการติดต่อกับสมาคมการค้า 👉 เป็นตัวแทนของหน่วยจ้างงานของประเทศ สมาคมการค้าเป็นตัวแทนของสมาชิกผู้ประกอบการ ที่เป็นหน่วยย่อยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการจ้างงานทั่วไป จึงมีผลต่อเศรษฐกิจของประเทศ ในขณะที่รัฐบาลต้องการส่งเสริมธุรกิจ ให้มีการลงทุน ให้เกิดการจ้างงาน ประชาชนมีงานทำ มีการใช้จ่าย ธุรกิจจึงจะดำเนินต่อไปได้อันเป็นที่มาของภาษีที่รัฐจัดเก็บ ภาครัฐจึงอาศัยสมาคมการค้าที่เป็นตัวแทนผู้ประกอบการ เป็นช่องทางหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามนโยบายของภาครัฐได้ 👉 เป็นคู่เจรจาที่น่าเชื่อถ

แนวทางในการพัฒนาสมาคมการค้า

สมาคมการค้า จัดเป็นองค์การที่ไม่หวังผลกำไร ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการประกอบการของสมาชิก อย่างไรก็ตาม คุณค่าของสมาคมการค้า มิได้มีเพียงต่อผู้ประกอบการเท่านั้น สมาคมการค้ายังมีความรับผิดชอบต่อสังคม สมาคมการค้าจึงต้องจัดสมดุลระหว่างประโยชน์ของสมาชิกและสังคมส่วนรวมด้วย เพราะสังคมส่วนรวมก็คือลูกค้าของสมาชิก คือสภาพแวดล้อม หรือระบบนิเวศน์ของการประกอบการของสมาชิก แม้ว่าสมาชิกแต่ละรายอาจมิได้คำนึงถึง แต่สมาคมการค้าต้องคิดถึงผลกระทบเหล่านี้ด้วย กรรมการสมาคมการค้า จึงต้องมองภาพใหญ่กว่าสมาชิกแต่ละราย ต้องมองให้เห็นถึงระดับมหภาค นอกจากนี้ ภาครัฐนิยมขับเคลื่อนนโยบาย หรือโครงการบางอย่างผ่านสมาคมการค้า เพราะสมาคมการค้าเป็นการรวมตัว และเป็นตัวแทนของเอกชนที่เป็นผู้ประกอบการ อย่างไรก็ตาม ในหลายๆครั้ง หลายๆโครงการที่ไม่ประสบความสำเร็จ สาเหตุหนึ่งมาจากปัญหาเรื่องความไม่เข้มแข็งของสมาคมการค้านั้น ความเข้มแข็งของสมาคมการค้า สะท้อนออกมาในรูปของการจูงใจให้สมาชิกกระทำการบางอย่าง ที่สมาชิกไม่ยอมกระทำในสถานการณ์ปกติ หากสมาคมการค้าไม่เข้มแข็งเพียงพอ ก็ไม่สามารถชักจูงสมาชิกให้ทำเรื่องยากๆ การพัฒ