ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

6 เหตุผลที่ควรจัดตั้งเป็นสมาคม แทนการรวมกลุ่มไม่เป็นทางการ

หากคุณกำลังรวมกลุ่มทำกิจกรรมบางอย่างเพื่อส่วนรวม
ช่วงเริ่มต้น คุณอาจวางแผนเพียงแค่ว่า มันอาจจะเป็นการรวมตัวกันระยะสั้น เมื่อจบกิจกรรมก็จะแยกย้ายกัน
แต่เมื่อกิจกรรมดำเนินไประยะนึง คุณกลับพบว่า มันจะเป็นประโยชน์มากกว่า หากจะทำกิจกรรมนี้สืบเนื่องต่อไปอีก โดยไม่คิดว่าจะยุบกลุ่มแยกย้ายในเร็ววันนี้
ถึงตอนนี้ คุณเริ่มคิดถึงการจัดตั้งกลุ่มให้มีความถาวร และนี่คือ 6 เหตุผลที่คุณควรจัดตั้งกลุ่ม ให้เป็นสมาคม หรือสมาคมการค้า
1. เป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้บริหาร
เมื่อจดทะเบียนเป็นสมาคม หรือสมาคมการค้าแล้ว สมาคมนั้นๆ จะมีสถานะเป็นนิติบุคคล คือเป็นบุคคลตามกฎหมายที่แยกต่างหากจากผู้บริหาร สมาคมจึงสามารถเป็นเจ้าของทรัพย์สินได้ สินทรัพย์นั้นจะใช้เพื่อประโยชน์ของสมาชิกโดยรวม ไม่ใช่คนใดคนหนึ่ง ในขณะเดียวกัน สมาคมก็สามารถเป็นหนี้ได้ หนี้ของสมาคมก็แยกต่างหากจากตัวผู้บริหารเช่นกัน
การเป็นสมาคม มักจะเกิดผลอีกด้านหนึ่งคือ เมื่อการรวมกลุ่มมีความมั่นคง จึงมักทำให้ผู้บริหารและสมาชิกเริ่มคิดถึงอนาคตระยะยาว เริ่มคาดหวังให้สมาคมมีแผนงานระยะยาวในการสร้างกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือสมาชิก
นอกจากนี้ การเป็นนิติบุคคลยังทำให้ได้รับการยอมรับจากบุคคลภายนอก มากกว่าจะรวมกลุ่มกันทำกิจกรรมในนามส่วนตัว ซึ่งทำให้บุคคลภายนอกขาดความเชื่อมั่นว่า องค์กรของเรานั้น อาจล้มเลิกไปเมื่อไหร่ก็ได้
ความที่เป็นนิติบุคคล จึงเป็นที่รับรู้การมีตัวตนในสายตาภาครัฐ จึงทำให้มีฐานะเป็นตัวแทนสมาชิก เป็นคู่เจรจากับภาครัฐ ซึ่งภาครัฐชอบที่จะเจรจากับตัวแทนโดยชอบธรรมของภาคธุรกิจ มากกว่าจะต้องเจรจากับหน่วยธุรกิจทีละราย
2. เป็นองค์การที่ไม่แสวงผลกำไร
การเป็นองค์การที่ไม่แสวงผลกำไร ทำให้ได้รับการยอมรับที่แตกต่างไปจากการติดต่อกับหน่วยธุรกิจ ทั้งนี้เพราะองค์การที่ไม่แสวงผลกำไร แม้แต่สมาคมการค้าเอง ต่างก็มิได้ทำเพื่อแสวงประโยชน์มาแบ่งปันกัน แต่จะทำพันธกิจเพื่อส่วนรวม ดังนั้น เงื่อนไขที่ได้จากคู่เจรจา จึงแตกต่างไปจากเงื่อนไปที่เจรจาแบ่งผลประโยชน์กันของหน่วยธุรกิจด้วยกัน มีความยืดหยุ่นผ่อนปรนมากกว่า
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าภาพลักษณ์ของการเป็นสมาคม จะเริ่มต้นในด้านบวก แต่หากผู้บริหารสมาคม มิได้บริหารภาพลักษณ์ของสมาคมด้วย ก็ทำให้ภาพลักษณ์ของสมาคมนั้น อาจติดลบในสายตาของผู้เกี่ยวข้อง ผู้บริหารสมาคม ต้องพึงระลึกไว้เสมอว่า พันธกิจของสมาคม ต่างไปจากพันธกิจของสมาชิก แม้ว่าสมาคมจะทำเพื่อสมาชิก แต่พันธกิจนั้นแตกต่างกัน พันธกิจของสมาชิก อาจมุ่งไปที่ผลกำไร แต่พันธกิจของสมาคม แม้ว่าจะเอื้อให้สมาชิกสร้างผลกำไร แต่ต้องไม่ลืมว่า ภาพลักษณ์โดยรวมก็มีผลต่อการสร้างผลกำไร สมาคมจึงต้องถ่วงดุลระหว่างผลประโยชน์ของสมาชิก และสังคม ให้เหมาะสม
3. ทำให้เกิดพลังผนึกได้ง่าย
การรวมกลุ่มกันทุกรูปแบบ ล้วนหวังให้เกิดพลังที่มากกว่าการดำเนินการด้วยคนทีละคน เราหวังพลังที่มากกว่าหนึ่งบวกหนึ่งเท่ากับสอง แต่การรวมกลุ่มกันในรูปบุคคลธรรมดา ทำให้เกิดข้อแคลงใว่า ผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นเบื้องต้น จะอยู่ในชื่อใคร ค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น จะอยู่ในชื่อใคร ซึ่งปัญหาเหล่านี้ ทำให้คนทิ้งกลุ่มไปมาก เพราะความไม่ชัดเจนนี้ แต่เมื่อเป็นนิติบุคคลแล้ว สมาคมนั้นๆย่อมเป็นผู้รับประโยชน์ เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น สมาชิกจึงมีหน้าที่เพียงผลักดันให้ผู้บริหาร ดำเนินการไปเพื่อประโยชน์ของสมาชิกโดยส่วนรวม
4. ช่วยขยายเครือข่ายข้ามอุตสาหกรรม
ธุรกิจทุกวันนี้ จะไม่ได้หยุดนิ่งขีดวงการมีปฏิสัมพันธ์ช่วยเหลือกันเฉพาะในอุตสาหกรรมเดียวกันแล้ว การสร้างความสัมพันธ์ข้ามอุตสาหกรรม ทำให้เกิดพลังมากขึ้น เกิดความแปลกใหม่ในสินค้าและบริการ
การมีสมาคมที่เป็นตัวแทนสมาชิก ในการเจรจาสร้างความร่วมมือข้ามอุตสาหกรรม ทำให้เกิดความมั่นใจ ทั้งในด้านขนาดผลตอบรับที่จะเกิดขึ้น และด้านความจริงจังของความร่วมมือ เพราะผมที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือ ไม่ได้เกิดจาก หนึ่งกิจการ กับอีกหนึ่งกิจการ แต่เป็นหลายๆกิจการในอุตสาหกรรมแรก ร่วมกับหลายๆกิจการในอุตสาหกรรมที่สอง จึงมีขนาดของผลกระทบที่ใหญ่กว่า
5. กำหนดทิศทางของอุตสาหกรรม
สมาคมฯ จะมีพันธกิจและมุมมองที่เป็นมหภาคมากกว่าสมาชิก สมาชิกอาจมุ่งผลกำไรในปัจจุบัน แต่สมาคมฯจะมองไกลไปถึงอนาคต การสวมหมวกผู้บริหารสมาคม ทำให้ต้องปรับวิสัยทัศน์ และสร้างพันธกิจที่ต่างไปจากสมาชิก ซึ่งความเป็นนิติบุคคลทำให้ได้รับการยอมรับ และให้ความร่วมมือต่อพันธกิจนี้ได้ง่ายกว่าการทำในนามของกลุ่มผลประโยชน์หลวมๆ
นอกจากนี้ สมาคมยังมีหน้าที่สร้างบรรยาศที่เอื้อต่อการทำกิจกรรมของสมาชิกในปัจจุบันอีกด้วย
6. เป็นงานที่สองสำหรับผู้ประกอบการที่มีตำแหน่งเป็นผู้บริหารสมาคม
การจัดตั้งเป็นสมาคม คือการเปิดทางให้ผู้ประกอบการที่เจียดเวลามาเป็นผู้บริหารสมาคม ได้มีเส้นทางเติบโตให้ไกลไปกว่าธุรกิจของตนเอง เพราะงานของสมาคมฯ มีความเป็นมหภาค เป็นภาพกว้างกว่าการประกอบธุรกิจ จึงเปิดโอกาสให้ ติดต่อกับคนในอีกแวดวงหนึ่ง ในตำแหน่งที่เป็นตัวแทนของสมาชิก
นี่คือเหตุผลที่ว่า ทำไมจึงควรรวมตัวเป็นสมาคม มากกว่าจะรวมตัวอย่างหลวมๆเป็นกลุ่ม หรือชมรมเท่านั้น

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

6 แหล่งรายได้ของสมาคม

สมาคมการค้าส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องขนาดงบประมาณที่จะใช้ในการผลักดันกิจกรรมของสมาคม ครั้นจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มจากสมาชิก สมาขิกก็มักจะไม่ยินยอมให้เก็บเพิ่ม สมาคมการค้าจึงมักจะต้องใช้วิธีปรับลดกิจกรรมตามแผนงานลง ปัญหาเช่นนี้มักเกิดขึ้นกับองค์การที่ไม่หวังผลกำไรอื่นประเภทที่เน้นบทบาทของสมาชิกด้วย อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาดีๆ สมาชิกไม่ใช่แหล่งรายได้เดียวของสมาคมการค้า เมื่อจำแนกรายได้ของสมาคม จากเจ้าของเงิน เราสามารถแบ่งได้เป็น 1.สมาชิก :  สมาชิกเป็นแหล่งรายได้แรกๆที่สมาคมจะคิดถึง อย่างไรก็ตาม สมาคมสามารถได้รับรายได้จากสมาชิก ไม่เพียงแต่ในรูปแบบของค่าธรรมเนียมเท่านั้น สมาคมยังสามารถสร้างสรรค์บริการอื่นที่ตรงใจสมาชิก เพื่อรับค่าบริการเป็นการตอบแทน เช่นการอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพของสมาชิก, การจัดกิจกรรมเพื่อสร้างโอกาสทางการตลาดแก่สมาชิก เป็นต้น 2.ภาครัฐ :  องค์การไม่หวังผลกำไร เกิดขึ้นจากการที่รัฐบาลไม่สามารถดูแลงานภาคสังคมได้ทั่วถึง จึงเกิดการรวมตัวกันของชุมชนเข้ามาช่วยจัดการแทนภาครัฐ ดังนั้นภาครัฐจึงสนับสนุนงบประมาณและอื่นๆ เป็นการตอบแทนการทำหน้าที่แทนรัฐบาลขององค์การไม่แ...

ภาษีเงินได้ของสมาคม สมาคมการค้า และมูลนิธิ

มูลนิธิ สมาคม และสมาคมการค้า จัดเป็นองค์การไม่แสวงหากำไร แต่ไม่ถือว่าเป็นองค์การที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล จนกว่าจะได้รับการประกาศให้เป็นสถานสาธารณกุศลตามประมวลรัษฎากร มาตรา 47(7)(ข) องค์การไม่แสวงหากำไรที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่ไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้เหล่านี้ ต้องเสียภาษีเงินได้ โดยคำนวณจากเงินได้ที่ได้รับก่อนหักค่าใช้จ่าย เนื่องจากองค์การเหล่านี้ ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าไม่หวังผลกำไรอย่างหน่วยธุรกิจทั่วไป ด้งนั้น องค์การไม่หวังผลกำไรแม้จะมีรายได้ และรายจ่า ย แต่หลักในการคำนวณภาษีเงินได้ จะคำนวณจากฐานคือเงินได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายใดๆ สำหรับอัตราภาษีขององค์การไม่หวังผลกำไรเหล่านี้ มีดังนี้ - กรณีเงินได้มาตรา 40(1)-(7) อัตราภาษีอยู่ที่ 10% ของเงินได้ - กรณีเงินได้มาตรา 40(8) เงินได้จากการพาณิชย์ อัตราภาษีอยู่ที่ 2% 🤞 🤞 🤞 ทั้งนี้ มีข้อยกเว้นไม่ต้องนำเงินได้มารวมคำนวณภาษีใน 3 กรณีคือ 1. ค่าธรรมเนียม หรือค่าบำรุงที่เก็บจากสมาชิก 2. เงินบริจาค 3. เงินได้โดยเสน่หา วางแผนการจัดตั้งสมาคมของคุณให้สอดคล้องกับภาระภาษีด้วยนะ จะได้มีเงินไว้สร้างกิจกรรมตามวัตถุประสง...

Funding Model เพื่อการบริหารชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถีอย่างยั่งยืน

นวัตวิถีคือโครงการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้เกิดรายได้กับชุมชน โดยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างทั่วถึง กระตุ้นเศรษฐกิจและสังคมภายในประเทศให้มีความเข้มแข็ง เป็นโครงการที่ผนวกโครงการ OTOP เข้ากับการท่องเที่ยว โดยสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวเมืองรองขึ้น แล้วส่งนักท่องเที่ยวเข้าชุมชน แทนที่จะดึงวิสาหกิจออกจากชุมชนสู่เมืองอย่างที่โอท็อปเคยทำด้วยการจัดงานแฟร์ แล้วให้สินค้าชุมชนต่างๆเหล่านี้มาออกร้านขายของปีละสามสี่เดือน ส่วนที่เหลืออีกปีละแปดเก้าเดือน ก็เคว้ง ว่างงาน กับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป งานของโครงการชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถี เริ่มตั้งแต่การค้นหาจุดเด่นของชุมชน ดึงมาพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว สร้างเรื่องราว เรื่องเล่า ผสานกับการให้ความรู้กับชุมชนในการสร้างรายรับจากนักท่องเที่ยวที่เข้าสู่ชุมชน นวัตวิถี จึงเป็นโครงการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ภายใต้วิถีชีวิตปกติของชุมชนเอง อย่างไรก็ตาม หากต้องการทำให้โครงการมีความยั่งยืน ต้องมีการจัดการเพื่อให้การบริหารโครงการมีความต่อเนื่อง จำเป็นต้องมีการบำรุงรักษาและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว การรักษาความสะอาด การรักษาความปลอดภัย การพัฒนาสินค้าและบริการให้มีความว้าว ...