ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

5 ขั้นตอนการสร้างอาสาสมัครในสมาคม และองค์การไม่หวังผลกำไรอื่น



ขั้นตอนการสร้างระบบอาสาสมัครให้เกิดขึ้นภายในสมาคม และองค์การที่ไม่หวังผลกำไรอื่น ให้ประสบความสำเร็จนั้น ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนใหญ่ ดังนี้

1.การวางแผน
ก่อนอื่น ต้องทำความเข้าใจกับความต้องการขององค์การเองก่อนว่า เรามีนโยบายอะไร เราหวังอะไรจากการมีอาสาสมัคร เมื่อเราเข้าใจตัวเองแล้ว จึงมาทำความเข้าใจกับตำแหน่งงานที่ต้องการอาสาสมัคร แล้วทำกระบวนการออกแบบงาน เพื่อให้ได้รายละเอียดของงานนั้นๆ เป็นต้นว่า จุดมุ่งหมายของงานนั้น คุณสมบัติของผู้จะทำหน้าที่นี้ ทักษะที่จำเป็น วันเวลาระยะเวลาพื้นที่การทำงาน อำนาจหน้าที่ต่างๆ คำอธิบายงาน เป็นต้น

2.การสรรหาและคัดเลือก
เมื่อได้รายละเอียดต่างๆของงาน ก็จะนำไปสู่ขั้นต่อไป คือการทำความเข้าใจกับกลุ่มผู้มีคุณสมบัติเป็นอาสาสมัคร เป็นต้นว่า เขามุ่งหวังอะไร อะไรเป็นเหตุจูงใจให้เขามาเป็นอาสาสมัคร จะสื่อสารกับพวกเขาได้อย่างไร จากนั้นก็สื่อสารออกไปเชิญชวนให้มาสมัคร เพื่อที่สมาคมจะได้คัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติตรงกับรายละเอียดของตำแหน่งที่ได้ทำไว้ในข้อหนึ่ง

3.ปฐมนิเทศน์และฝึกอบรม
เมื่อได้อาสาสมัครตามที่วางแผนไว้แล้ว ก็จะเป็นการตระเตรียมเพื่อให้อาสาสมัครสามารถทำงานได้ตามที่วางแผนไว้ การปฐมนิเทศน์ เป็นการทำความคุ้นเคยกันระหว่างสมาคมและอาสาสมัครนั้นๆ ทำให้อาสาสมัครมีข้อมูลพื้นฐานของสมาคม ในขณะที่การฝึกอบรม เป็นการทำให้อาสาสมัครนั้นมีทักษะที่จำเป็นต้องใช้ในการทำงานอย่างเพียงพอ ทั้งนี้ทักษะที่จำเป็นต้องมีในแต่ละตำแหน่ง จะถูกระบุอยู่แล้วในขั้นตอนแรกการวางแผน

4.การกำกับ ติดตาม และประเมินผล
ขั้นตอนนี้เป็นการติดตามการทำงานของอาสาสมัคร เพื่อให้อาสาสมัครทำงานได้ตามที่วางแผนไว้ หากอาสาสมัครติดปัญหาเรื่องใดที่ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง ผู้ที่มีหน้าที่ดูแลอาสาสมัครตำแหน่งนั้นจะได้เข้าช่วยแนะนำ เพื่อให้อาสาสมัครเกิดการพัฒนาในการทำงาน รวมไปถึงการประเมินผลการทำงาน เพื่อหาความจำเป็นในการฝึกอบรมด้วย

5.เก็บรักษา
พึงระลึกไว้เสมอว่า อาสาสมัครสามารถทีาจะหยุดให้ความร่วมมือกับองค์การเมื่อไหร่ก็ได้ เพราะนี่เป็นงานอาสามัคร อาสาสมัครที่มาทำงานด้วย ไม่มีความจำเป็นต้องพึ่งพาผลประโยชน์ตอบแทนจากองค์การ ซึ่งต่างจากการร่วมกานกับบริษัทธุรกิจ การเก็บรักษาอาสาสมัครที่ดีไว้จึงเป็ความจำเป็นขององค์การ การทำให้อาสาสมัครรู้ว่าสมาคมหรือองค์ไม่หวังผลกำไรนี้ตระหนักและทราบซึ้งในความเสียสละของอาสามัครเป็นสิ่งจำเป็น การแสดงออกนี้อาจเป็นการยิ้มให้ การพูดถึงด้วยความขอบคุณทุกครั้งที่มีโอกาส หรือปม้แต่กระทั่งการจัดงานเพื่อแสดงความขอบคุณก็ได้

นี่เป็น 5 ขั้นตอนใหญ่ๆของการบริหารจัดการงานอาสาสมัครของสมาคมและองค์การไม่หวังผลกำไร

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

6 แหล่งรายได้ของสมาคม

สมาคมการค้าส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องขนาดงบประมาณที่จะใช้ในการผลักดันกิจกรรมของสมาคม ครั้นจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มจากสมาชิก สมาขิกก็มักจะไม่ยินยอมให้เก็บเพิ่ม สมาคมการค้าจึงมักจะต้องใช้วิธีปรับลดกิจกรรมตามแผนงานลง ปัญหาเช่นนี้มักเกิดขึ้นกับองค์การที่ไม่หวังผลกำไรอื่นประเภทที่เน้นบทบาทของสมาชิกด้วย อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาดีๆ สมาชิกไม่ใช่แหล่งรายได้เดียวของสมาคมการค้า เมื่อจำแนกรายได้ของสมาคม จากเจ้าของเงิน เราสามารถแบ่งได้เป็น 1.สมาชิก :  สมาชิกเป็นแหล่งรายได้แรกๆที่สมาคมจะคิดถึง อย่างไรก็ตาม สมาคมสามารถได้รับรายได้จากสมาชิก ไม่เพียงแต่ในรูปแบบของค่าธรรมเนียมเท่านั้น สมาคมยังสามารถสร้างสรรค์บริการอื่นที่ตรงใจสมาชิก เพื่อรับค่าบริการเป็นการตอบแทน เช่นการอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพของสมาชิก, การจัดกิจกรรมเพื่อสร้างโอกาสทางการตลาดแก่สมาชิก เป็นต้น 2.ภาครัฐ :  องค์การไม่หวังผลกำไร เกิดขึ้นจากการที่รัฐบาลไม่สามารถดูแลงานภาคสังคมได้ทั่วถึง จึงเกิดการรวมตัวกันของชุมชนเข้ามาช่วยจัดการแทนภาครัฐ ดังนั้นภาครัฐจึงสนับสนุนงบประมาณและอื่นๆ เป็นการตอบแทนการทำหน้าที่แทนรัฐบาลขององค์การไม่แสวงหากำไร

เหตุผลที่ภาครัฐนิยมติดต่อกับสมาคมการค้า

จุดเริ่มต้นของสมาคมการค้าจำนวนมาก มักก่อตัวจากกการมีความสนใจหรือปัญหาร่วมกัน จึงรวมตัวกันเป็นกลุ่มเครือข่าย หรือชมรมฯ และเมื่อผ่านการทำกิจกรรมติดต่อกับภาครัฐระยะหนึ่ง กลุ่มเครื่อข่ายนั้น มักได้รับคำแนะนำจากภาครัฐ ให้ดำเนินการจัดตั้งเป็นสมาคมการค้า ในด้านหนึ่งก็เพื่อให้กลุ่มเครือข่ายนั้นมีตัวตนตามกฏหมายเป็นนิติบุคคลหนึ่งที่ภาครัฐจะติดต่อทำธุรกรรมได้เป็นกิจจะลักษณะ อย่างไรก็ตาม ยังมีเหตุผลอื่นอีก โดยเฉพาะสมาคมการค้าที่ผ่านการจัดตั้งระยะหนึ่ง มีกลไกการทำงานของตัวเองแล้ว และนี่คือเหตุผลที่ภาครัฐนิยมในการติดต่อกับสมาคมการค้า 👉 เป็นตัวแทนของหน่วยจ้างงานของประเทศ สมาคมการค้าเป็นตัวแทนของสมาชิกผู้ประกอบการ ที่เป็นหน่วยย่อยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการจ้างงานทั่วไป จึงมีผลต่อเศรษฐกิจของประเทศ ในขณะที่รัฐบาลต้องการส่งเสริมธุรกิจ ให้มีการลงทุน ให้เกิดการจ้างงาน ประชาชนมีงานทำ มีการใช้จ่าย ธุรกิจจึงจะดำเนินต่อไปได้อันเป็นที่มาของภาษีที่รัฐจัดเก็บ ภาครัฐจึงอาศัยสมาคมการค้าที่เป็นตัวแทนผู้ประกอบการ เป็นช่องทางหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามนโยบายของภาครัฐได้ 👉 เป็นคู่เจรจาที่น่าเชื่อถ

แนวทางในการพัฒนาสมาคมการค้า

สมาคมการค้า จัดเป็นองค์การที่ไม่หวังผลกำไร ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการประกอบการของสมาชิก อย่างไรก็ตาม คุณค่าของสมาคมการค้า มิได้มีเพียงต่อผู้ประกอบการเท่านั้น สมาคมการค้ายังมีความรับผิดชอบต่อสังคม สมาคมการค้าจึงต้องจัดสมดุลระหว่างประโยชน์ของสมาชิกและสังคมส่วนรวมด้วย เพราะสังคมส่วนรวมก็คือลูกค้าของสมาชิก คือสภาพแวดล้อม หรือระบบนิเวศน์ของการประกอบการของสมาชิก แม้ว่าสมาชิกแต่ละรายอาจมิได้คำนึงถึง แต่สมาคมการค้าต้องคิดถึงผลกระทบเหล่านี้ด้วย กรรมการสมาคมการค้า จึงต้องมองภาพใหญ่กว่าสมาชิกแต่ละราย ต้องมองให้เห็นถึงระดับมหภาค นอกจากนี้ ภาครัฐนิยมขับเคลื่อนนโยบาย หรือโครงการบางอย่างผ่านสมาคมการค้า เพราะสมาคมการค้าเป็นการรวมตัว และเป็นตัวแทนของเอกชนที่เป็นผู้ประกอบการ อย่างไรก็ตาม ในหลายๆครั้ง หลายๆโครงการที่ไม่ประสบความสำเร็จ สาเหตุหนึ่งมาจากปัญหาเรื่องความไม่เข้มแข็งของสมาคมการค้านั้น ความเข้มแข็งของสมาคมการค้า สะท้อนออกมาในรูปของการจูงใจให้สมาชิกกระทำการบางอย่าง ที่สมาชิกไม่ยอมกระทำในสถานการณ์ปกติ หากสมาคมการค้าไม่เข้มแข็งเพียงพอ ก็ไม่สามารถชักจูงสมาชิกให้ทำเรื่องยากๆ การพัฒ