ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

7 อุปนิสัยการคิดเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสมาคม


สมาคม และองค์การไม่หวังผลกำไรอื่นๆ จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ของตนเอง จึงต้องมียุทธศาสตร์ มีแผนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้น และนี่คือ 7 อุปนิสัยในการคิดเชิงกลยุทธ์ ที่ช่วยนำสมาคมของคุณให้อยู่บนเส้นทางสู่วัตถุประสงค์ที่วางไว้อย่างเหนือชั้น

1. สรรหาบุคคลที่ "ใช่" เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ

คณะกรรมการของสมาคม จะเป็นผู้กำกับด้านนโยบายทิศทางของสมาคม เป็นผู้ชี้ทิศทางการเดินของสมาคม การมีบุคคลที่ใช่จึงมีความสำคัญต่อสมาคม

เราไม่สามารถได้"พรุ่งนี้" ด้วยนักคิดแบบ "เมื่อวานนี้" การมีกรรมการใหม่ๆเข้ามามีส่วนร่วม จะช่วยให้แนวความคิดของกรรมการนอกจากจะมีความหลากหลายแล้ว ยังมีความสดใหม่อีกด้วย

แม้ว่าการปรับเปลี่ยนกรรมการจะมีความจำเป็น แต่การเปลี่ยนตัวคณะกรรมการ มักเป็นเรื่องลำบากใจของทุกสมาคม การตั้งกฏระเบียบเพื่อให้เกิดการหมุนเวียนกรรมการที่เหมาะสม จะช่วยลดปัญหานี้ได้


2. ท้าทายสมมุติฐานเดิม

"ทำแบบนี้เพราะเคยทำ" เป็นเหตุผลที่ไม่ค่อยเป็นที่ยอมรับในองค์การที่ต้องการก้าวขึ้นระดับถัดไป การตั้งคำถามท้าทายสิ่งที่สมาคมทำ นำไปสู่ความคิดใหม่ๆในการทำงาน จะช่วยให้เกิดวิธีใหม่ในการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือแม้กระทั่งแนวความคิดใหม่ในการบริหารงานตามวัตถุประสงค์ของสมาคม ซึ่งจะช่วยพาสมาคมให้ก้าวไปอีกขั้น


3. หมั่นตรวจสอบสภาพแวดล้อม

การเปลี่ยนแปลงภายนอกองค์การสามารถส่งผลกระทบต่อองค์การ การตามไม่ทันความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม อาจทำให้พันธกิจของสมาคมเป็นอันไร้ประโยชน์ หรือความสามารถหลักของสมาคมในการทำงานตามพันธกิจอาจไม่เพียงพอ


4. มองออกไปในอนาคตให้ไกลขึ้น

การมองไปให้ไกลมากขึ้น ทำให้สมาคมได้เห็นถึงโอกาสและอุปสรรคล่วงหน้า ส่งผลต่อการวางแผนงาน ทำให้จัดลำดับความสำคัญระยะสั้นได้ดี อีกทั้งหากสามารถมองเห็นโอกาสและอุปสรรคก่อน ย่อมมีเวลามากกว่าในการเตรียมงาน และคว้าโอกาสได้ก่อนผู้ที่เห็นโอกาสทีหลัง


5. การมุ่งเน้น

การทำงานหลายๆสิ่งพร้อมกัน จะเป็นการกระจายทรัพยากรเพื่อความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็น คน, เงิน, เวลา ออกไปให้กับกิจกรรมหลายๆสิ่ง งานอาจเดินหน้าจำนวนมาก แต่คุณอาจพบไว่ ไม่มีงานใดเลยที่ไปถึงจุดที่น่าพอใจ

การทำงานเพียงไม่กี่สิ่งที่ถนัดและสำคัญ เพื่อทุ่มเททรัพยากรที่มีจำกัดลงไปให้กับงานสำคัญ จะช่วยให้ประสบสำเร็จมากกว่าการทำงานหลายๆสิ่งพร้อมๆกัน

หลายๆสมาคม จะพบว่ามีงานใหม่ที่สำคัญที่ควรทำ แต่การเพิ่มวัตถุประสงค์ใหม่เข้ามาโดยไม่ได้ตัดของเดิมออก จะลดทอนประสิทธิภาพในการสร้างความสำเร็จลง สมาคมจึงควรใช้พันธกิจของสมาคมเป็นตัวกรองเพื่อให้เหลือแต่สิ่งที่สมาคมต้องมุ่งเน้น


6.ฟัง

สมาคมตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์บางอย่างที่ชัดเจน โดยเฉพาะสมาคมที่ที่อยู่บนฐานสมาชิก ยิ่งจำเป็นต้องฟังเสียงสมาชิก และผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อให้มั่นใจว่าสมาคมได้ตอบสนองอย่างดี

ในการประชุมของสมาคม การมี Value Proposition-คุณค่าที่สมาคมมุ่งหมายจะส่งมอบให้แก่สมาชิก เป็นศูนย์กลางของการหารือ จะช่วยให้การประชุมหารือไม่ออกนอกวัตถุประสงค์


7. สร้างโอกาส

องค์การส่วนใหญ่มักปรับแผนยุทธศาสตร์ทุก 1-3 ปี แต่ความเปลี่ยนแปลงจะมาแบบไม่มีกำหนดแน่นอน หากสมาคมจะทบทวนยุทธศาสตร์ตามระยะเวลา อาจไม่ทันกับความเร่งด่วนของความเปลี่ยนแปลง เป็นการดีกว่า ที่จะได้จัดวาระการประชุมของคณะกรรมการในเรื่องยุทธศาสตร์โดยเฉพาะอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ ต่างหากจากการประชุมเรื่องอื่น

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

6 แหล่งรายได้ของสมาคม

สมาคมการค้าส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องขนาดงบประมาณที่จะใช้ในการผลักดันกิจกรรมของสมาคม ครั้นจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มจากสมาชิก สมาขิกก็มักจะไม่ยินยอมให้เก็บเพิ่ม สมาคมการค้าจึงมักจะต้องใช้วิธีปรับลดกิจกรรมตามแผนงานลง ปัญหาเช่นนี้มักเกิดขึ้นกับองค์การที่ไม่หวังผลกำไรอื่นประเภทที่เน้นบทบาทของสมาชิกด้วย อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาดีๆ สมาชิกไม่ใช่แหล่งรายได้เดียวของสมาคมการค้า เมื่อจำแนกรายได้ของสมาคม จากเจ้าของเงิน เราสามารถแบ่งได้เป็น 1.สมาชิก :  สมาชิกเป็นแหล่งรายได้แรกๆที่สมาคมจะคิดถึง อย่างไรก็ตาม สมาคมสามารถได้รับรายได้จากสมาชิก ไม่เพียงแต่ในรูปแบบของค่าธรรมเนียมเท่านั้น สมาคมยังสามารถสร้างสรรค์บริการอื่นที่ตรงใจสมาชิก เพื่อรับค่าบริการเป็นการตอบแทน เช่นการอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพของสมาชิก, การจัดกิจกรรมเพื่อสร้างโอกาสทางการตลาดแก่สมาชิก เป็นต้น 2.ภาครัฐ :  องค์การไม่หวังผลกำไร เกิดขึ้นจากการที่รัฐบาลไม่สามารถดูแลงานภาคสังคมได้ทั่วถึง จึงเกิดการรวมตัวกันของชุมชนเข้ามาช่วยจัดการแทนภาครัฐ ดังนั้นภาครัฐจึงสนับสนุนงบประมาณและอื่นๆ เป็นการตอบแทนการทำหน้าที่แทนรัฐบาลขององค์การไม่แสวงหากำไร

เหตุผลที่ภาครัฐนิยมติดต่อกับสมาคมการค้า

จุดเริ่มต้นของสมาคมการค้าจำนวนมาก มักก่อตัวจากกการมีความสนใจหรือปัญหาร่วมกัน จึงรวมตัวกันเป็นกลุ่มเครือข่าย หรือชมรมฯ และเมื่อผ่านการทำกิจกรรมติดต่อกับภาครัฐระยะหนึ่ง กลุ่มเครื่อข่ายนั้น มักได้รับคำแนะนำจากภาครัฐ ให้ดำเนินการจัดตั้งเป็นสมาคมการค้า ในด้านหนึ่งก็เพื่อให้กลุ่มเครือข่ายนั้นมีตัวตนตามกฏหมายเป็นนิติบุคคลหนึ่งที่ภาครัฐจะติดต่อทำธุรกรรมได้เป็นกิจจะลักษณะ อย่างไรก็ตาม ยังมีเหตุผลอื่นอีก โดยเฉพาะสมาคมการค้าที่ผ่านการจัดตั้งระยะหนึ่ง มีกลไกการทำงานของตัวเองแล้ว และนี่คือเหตุผลที่ภาครัฐนิยมในการติดต่อกับสมาคมการค้า 👉 เป็นตัวแทนของหน่วยจ้างงานของประเทศ สมาคมการค้าเป็นตัวแทนของสมาชิกผู้ประกอบการ ที่เป็นหน่วยย่อยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการจ้างงานทั่วไป จึงมีผลต่อเศรษฐกิจของประเทศ ในขณะที่รัฐบาลต้องการส่งเสริมธุรกิจ ให้มีการลงทุน ให้เกิดการจ้างงาน ประชาชนมีงานทำ มีการใช้จ่าย ธุรกิจจึงจะดำเนินต่อไปได้อันเป็นที่มาของภาษีที่รัฐจัดเก็บ ภาครัฐจึงอาศัยสมาคมการค้าที่เป็นตัวแทนผู้ประกอบการ เป็นช่องทางหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามนโยบายของภาครัฐได้ 👉 เป็นคู่เจรจาที่น่าเชื่อถ

แนวทางในการพัฒนาสมาคมการค้า

สมาคมการค้า จัดเป็นองค์การที่ไม่หวังผลกำไร ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการประกอบการของสมาชิก อย่างไรก็ตาม คุณค่าของสมาคมการค้า มิได้มีเพียงต่อผู้ประกอบการเท่านั้น สมาคมการค้ายังมีความรับผิดชอบต่อสังคม สมาคมการค้าจึงต้องจัดสมดุลระหว่างประโยชน์ของสมาชิกและสังคมส่วนรวมด้วย เพราะสังคมส่วนรวมก็คือลูกค้าของสมาชิก คือสภาพแวดล้อม หรือระบบนิเวศน์ของการประกอบการของสมาชิก แม้ว่าสมาชิกแต่ละรายอาจมิได้คำนึงถึง แต่สมาคมการค้าต้องคิดถึงผลกระทบเหล่านี้ด้วย กรรมการสมาคมการค้า จึงต้องมองภาพใหญ่กว่าสมาชิกแต่ละราย ต้องมองให้เห็นถึงระดับมหภาค นอกจากนี้ ภาครัฐนิยมขับเคลื่อนนโยบาย หรือโครงการบางอย่างผ่านสมาคมการค้า เพราะสมาคมการค้าเป็นการรวมตัว และเป็นตัวแทนของเอกชนที่เป็นผู้ประกอบการ อย่างไรก็ตาม ในหลายๆครั้ง หลายๆโครงการที่ไม่ประสบความสำเร็จ สาเหตุหนึ่งมาจากปัญหาเรื่องความไม่เข้มแข็งของสมาคมการค้านั้น ความเข้มแข็งของสมาคมการค้า สะท้อนออกมาในรูปของการจูงใจให้สมาชิกกระทำการบางอย่าง ที่สมาชิกไม่ยอมกระทำในสถานการณ์ปกติ หากสมาคมการค้าไม่เข้มแข็งเพียงพอ ก็ไม่สามารถชักจูงสมาชิกให้ทำเรื่องยากๆ การพัฒ