ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

แนวทางในการพัฒนาสมาคมการค้า 2 - ประสิทธิภาพ

1.มีประสิทธิภาพ

มีองค์ประกอบสำคัญหลายด้านที่จะมีผลต่อประสิทธิภาพของสมาคมการค้า อาจจำแนกได้ดังนี้

มีทรัพยากรเพียงพอ
สมาคมการค้าแต่ละสมาคมจะมีพันธกิจของตนเอง ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ และแต่ละกิจกรรมมักจะต้องใช้เงินหรือทรัพยากรอื่นที่มีเงินเป็นตัวกลางในการขับเคลื่อน สมาคมการค้าจึงต้องมีเงินหรือทรัพยากรอื่นอย่างเพียงพอในการขับเคลื่อนกิจกรรม หากไม่มีกิจกรรม สมาคมการค้านั้นจะค่อยๆลีบเรียวลง สมาชิกจะเริ่มทิ้งสมาคม และในที่สุดสมาคมการค้านั้นจะถึงจุดจบ

จากเหตุผลข้างต้น แม้สมาคมการค้าจะได้ชื่อว่า เป็นองค์การไม่หวังผลกำไร แต่สมาคมการค้าก็ต้องสร้างกำไร อย่างไรก็ตาม ต้องพึงระลึกไว้เสมอว่า เป็นการสร้างกำไรเพื่อนำมาใช้ขับเคลื่อนกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ของการก่อตั้ง มิใช่สร้างกำไรมาเพื่อแบ่งปันตอบแทนแก่กรรมการ หรือสมาชิก การ “ไม่หวังผลกำไร” เป็นส่วนหนึ่งของวัตถุประสงต์ขององค์การ แต่ไม่ใช่โมเดลธุรกิจ

มีวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน
เริ่มจากการมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน รู้ทิศทางที่จะนำพาสมาคมการค้าและสมาชิกไป แล้วแปรมาเป็นยุทธศาสตร์การเดินสู่เป้าหมาย มีแผนที่เหมาะสม สามารถจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังของงาน สิ่งเหล่านี้จะนำสมาคมให้พัฒนา

แม้ว่าสมาคมจะต้องมีวิสัยทัศน์เชิงมหภาค แต่ต้องไม่ทอดทิ้งความต้องการของสมาชิก การฟังเสียงสมาชิกก่อนร่างแผนจึงเป็นสิ่งสำคัญ และเมื่อมีแผนแล้ว การคอยติดตามความคืบหน้าของแผน จะเป็นสิ่งประกันความคืบหน้าสู่ความสำเร็จ

ดึงดูดความร่วมมือของทุกฝ่าย
สมาคมการค้าที่มีประสิทธิภาพต้องสามารถดึงความร่วมมือจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะจากสมาชิกของสมาคมการค้านั้น ความร่วมมือของสมาชิก ในการทำสิ่งที่ปกติสมาชิกจะไม่ยอมกระทำ เป็นสิ่งบ่งบอกถึงความเข้มแข็งของสมาคมการค้านั้นที่จะนำสมาชิกเดินไปสู่จุดหมาย

ทั้งนี้ การมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน จะดึงดูดหน่วยงานภายนอกที่มีความคิดเห็นสอดคล้องกันให้มาร่วมมือกันได้ในอีกทางหนึ่ง

ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี เพื่อลดต้นทุน และเพิ่มคุณภาพในการบริการแก่สมาชิก
โลกมุ่งหน้าสู่เทคโนโลยีที่สูงขึ้น เทคโนโลยีเหล่านี้ ไม่ได้ช่วยในการทำงานของสมาคมการได้ทั้งในด้านการช่วยทำงานยากๆที่ปกติทำไม่ได้, ช่วยทำงานโดยลดการใช้ทรัพยากรให้น้อยลง, การทำงานที่เคยทำ แต่เพิ่มคุณภาพของงานให้ดีขึ้น เหล่านี้คือสิ่งที่สมาคมการค้าจะได้จากเทคโนโลยี ที่มีราคาถูกลงเรื่อยๆ

ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้เทคโนโลยีล่าสุด แต่ให้เลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับงานของสมาคมที่สุด

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

6 แหล่งรายได้ของสมาคม

สมาคมการค้าส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องขนาดงบประมาณที่จะใช้ในการผลักดันกิจกรรมของสมาคม ครั้นจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มจากสมาชิก สมาขิกก็มักจะไม่ยินยอมให้เก็บเพิ่ม สมาคมการค้าจึงมักจะต้องใช้วิธีปรับลดกิจกรรมตามแผนงานลง ปัญหาเช่นนี้มักเกิดขึ้นกับองค์การที่ไม่หวังผลกำไรอื่นประเภทที่เน้นบทบาทของสมาชิกด้วย อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาดีๆ สมาชิกไม่ใช่แหล่งรายได้เดียวของสมาคมการค้า เมื่อจำแนกรายได้ของสมาคม จากเจ้าของเงิน เราสามารถแบ่งได้เป็น 1.สมาชิก :  สมาชิกเป็นแหล่งรายได้แรกๆที่สมาคมจะคิดถึง อย่างไรก็ตาม สมาคมสามารถได้รับรายได้จากสมาชิก ไม่เพียงแต่ในรูปแบบของค่าธรรมเนียมเท่านั้น สมาคมยังสามารถสร้างสรรค์บริการอื่นที่ตรงใจสมาชิก เพื่อรับค่าบริการเป็นการตอบแทน เช่นการอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพของสมาชิก, การจัดกิจกรรมเพื่อสร้างโอกาสทางการตลาดแก่สมาชิก เป็นต้น 2.ภาครัฐ :  องค์การไม่หวังผลกำไร เกิดขึ้นจากการที่รัฐบาลไม่สามารถดูแลงานภาคสังคมได้ทั่วถึง จึงเกิดการรวมตัวกันของชุมชนเข้ามาช่วยจัดการแทนภาครัฐ ดังนั้นภาครัฐจึงสนับสนุนงบประมาณและอื่นๆ เป็นการตอบแทนการทำหน้าที่แทนรัฐบาลขององค์การไม่แสวงหากำไร

แนวทางในการพัฒนาสมาคมการค้า

สมาคมการค้า จัดเป็นองค์การที่ไม่หวังผลกำไร ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการประกอบการของสมาชิก อย่างไรก็ตาม คุณค่าของสมาคมการค้า มิได้มีเพียงต่อผู้ประกอบการเท่านั้น สมาคมการค้ายังมีความรับผิดชอบต่อสังคม สมาคมการค้าจึงต้องจัดสมดุลระหว่างประโยชน์ของสมาชิกและสังคมส่วนรวมด้วย เพราะสังคมส่วนรวมก็คือลูกค้าของสมาชิก คือสภาพแวดล้อม หรือระบบนิเวศน์ของการประกอบการของสมาชิก แม้ว่าสมาชิกแต่ละรายอาจมิได้คำนึงถึง แต่สมาคมการค้าต้องคิดถึงผลกระทบเหล่านี้ด้วย กรรมการสมาคมการค้า จึงต้องมองภาพใหญ่กว่าสมาชิกแต่ละราย ต้องมองให้เห็นถึงระดับมหภาค นอกจากนี้ ภาครัฐนิยมขับเคลื่อนนโยบาย หรือโครงการบางอย่างผ่านสมาคมการค้า เพราะสมาคมการค้าเป็นการรวมตัว และเป็นตัวแทนของเอกชนที่เป็นผู้ประกอบการ อย่างไรก็ตาม ในหลายๆครั้ง หลายๆโครงการที่ไม่ประสบความสำเร็จ สาเหตุหนึ่งมาจากปัญหาเรื่องความไม่เข้มแข็งของสมาคมการค้านั้น ความเข้มแข็งของสมาคมการค้า สะท้อนออกมาในรูปของการจูงใจให้สมาชิกกระทำการบางอย่าง ที่สมาชิกไม่ยอมกระทำในสถานการณ์ปกติ หากสมาคมการค้าไม่เข้มแข็งเพียงพอ ก็ไม่สามารถชักจูงสมาชิกให้ทำเรื่องยากๆ การพัฒ

5 ขั้นตอนการสร้างอาสาสมัครในสมาคม และองค์การไม่หวังผลกำไรอื่น

ขั้นตอนการสร้างระบบอาสาสมัครให้เกิดขึ้นภายในสมาคม และองค์การที่ไม่หวังผลกำไรอื่น ให้ประสบความสำเร็จนั้น ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนใหญ่ ดังนี้ 1. การวางแผน ก่อนอื่น ต้องทำความเข้าใจกับความต้องการขององค์การเองก่อนว่า เรามีนโยบายอะไร เราหวังอะไรจากการมีอาสาสมัคร เมื่อเราเข้าใจตัวเองแล้ว จึงมาทำความเข้าใจกับตำแหน่งงานที่ต้องการอาสาสมัคร แล้วทำกระบวนการออกแบบงาน เพื่อให้ได้รายละเอียดของงานนั้นๆ เป็นต้นว่า จุดมุ่งหมายของงานนั้น คุณสมบัติของผู้จะทำหน้าที่นี้ ทักษะที่จำเป็น วันเวลาระยะเวลาพื้นที่การทำงาน อำนาจหน้าที่ต่างๆ คำอธิบายงาน เป็นต้น 2. การสรรหาและคัดเลือก เมื่อได้รายละเอียดต่างๆของงาน ก็จะนำไปสู่ขั้นต่อไป คือการทำความเข้าใจกับกลุ่มผู้มีคุณสมบัติเป็นอาสาสมัคร เป็นต้นว่า เขามุ่งหวังอะไร อะไรเป็นเหตุจูงใจให้เขามาเป็นอาสาสมัคร จะสื่อสารกับพวกเขาได้อย่างไร จากนั้นก็สื่อสารออกไปเชิญชวนให้มาสมัคร เพื่อที่สมาคมจะได้คัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติตรงกับรายละเอียดของตำแหน่งที่ได้ทำไว้ในข้อหนึ่ง 3. ปฐมนิเทศน์และฝึกอบรม เมื่อได้อาสาสมัครตามที่วางแผนไว้แล