ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

3 สิ่งต้องมีในแผนยุทธศาสตร์ของสมาคม



สมาคมจำนวนมากที่บริหารสมาคมไปโดยไม่มีแผน การจัดลำดับงานและทิศทางการตัดสินใจ ขึ้นอยู่กับว่าจะมีงานอะไรเร่งด่วนเฉพาะหน้าเข้ามา หรือใครเสียงดังที่สุดบนโต๊ะประชุม สภาพเช่นนี้ ย่อมไม่เป็นผลดีต่อสมาชิกที่รอรับความช่วยเหลือจากสมาคม ยากจะบอกได้ว่า สมาคมกำลังดำเนินการไปตามวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งอยู่หรือไม่

สาเหตุมักเกิดขึ้นจากการที่สมาคมไม่มีแผนยุทธศาสตร์ของตนเองที่ใช้เป็นแนวทางในการบริหารและตัดสินใจ

คณะกรรมการสมาคมมักคิดว่า การทำแผนยุทธศาสตร์ เป็นเรื่องยากเกินไปที่สมาคมจะทำแผนยุทธศาสตร์เป็นของตัวเอง แต่ในความเป็นจริงแล้ว แผนยุทธศาสตร์ของสมาคม มีตั้งแต่ขนาดหนึ่งแผ่นกระดาษ ไปจนถึงเป็นเล่มหนาๆ แต่ทั้งหมดนี้ มี 3 สิ่งมี เหมือนๆกัน นั่นก็คือ

1. ระบุเป้าหมาย
สมาคมจะต้องระบุออกมาให้ชัดเจนถึงภาพความฝันที่มุ่งหมายจะไปให้ถึง เพื่อให้ทุกคนได้ทำความเข้าใจกับเป้าหมายร่วมกัน ลองคิดดูว่า ถ้าทีมของคุณแยกกันออกเดินทาง  โดยไม่ได้ตกลงกันให้ชัดเจนว่า เป้าหมายคือที่ใด คุณคิดว่า จะมีกี่คนที่คุณจะได้พบที่จุดหมายที่คุณคิดไว้  นี่เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง ที่มือทำงานของแต่ละสมาคม มักพบว่า มีแต่ตัวเองเดินอยู่คนเดียว ส่วนเพื่อนๆต่างกระจัดกระจายไปคนละทาง สภาพเช่นนี้เห็นได้ชัดในเวลาประชุม การให้เหตุผลไปคนละทาง เพราะแต่ละคนต่างก็มองเป้าหมายของสมาคมต่างกันออกไป บางคนมองเป้าระยะสั้น บางคนมองเลยไปถึงเป้าระยะไกล ในแต่ละระยะก็มีจุดเน้นต่างกันอีก งานเหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งหากไม่ได้ตกลงเป้าหมายกันก่อน ก็จะกลายเป็นแยกกันเดินแล้วหากันไม่เจอ

การไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจน นอกจากจะวัดผลไม่ได้แล้ว ยังยากจะบอกด้วยว่า ตอนนี้คุณเดินหน้า หรือถอยหลัง ยังเดินตามทางหรือหลงทางไปแล้ว

2. ระบุขั้นตอนสำคัญของการเดินสู่เป้าหมาย
เมื่อรู้เป้าหมายแล้ว สิ่งถัดมาที่จะทำก็คือ การกำหนดขั้นตอนสำคัญที่จะไปถึงจุดหมาย ถ้าตกลงกันว่าเป้าหมายคือเชียงใหม่ และสมมุติว่าจากเงื่อนไขข้อจำกัดต่างๆที่มี เห็นพ้องกันว่าต้องไปทางเครื่องบิน ขั้นตอนสำคัญอาจกำหนดได้ว่า จองตั๋ว, เช็คอินขึ้นเครื่อง และถึงเชียงใหม่

3. การวัดผล
คือเกณฑ์ที่จะบอกได้ว่า เราทำงานสำเร็จแล้ว เราถึงปลายทางที่ฝันแล้ว สิ่งที่จะบอกได้ชัดๆอย่างนั้น คือเกณฑ์ที่สามารถวัดได้ ซึ่งกำหนดไว้ตั้งแต่ต้นให้สอดคล้องกับเป้าหมายตามข้อแรก

คณะกรรมการอาจตั้งคำถามถามตัวเองง่ายๆ 3 ข้อว่า
1. เรากำลังจะไปไหน?
2. เราจะไปยังไง?
3. รู้ได้ยังไงว่าเรามาถึงแล้ว?

เมื่อได้คำตอบแล้ว คุณก็จะได้แผนยุทธศาสตร์คร่าวๆกำกับการบริหารสมาคม ไม่ต้องหลงพายเรือวนในอ่างอีกต่อไป

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Funding Model เพื่อการบริหารชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถีอย่างยั่งยืน

นวัตวิถีคือโครงการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้เกิดรายได้กับชุมชน โดยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างทั่วถึง กระตุ้นเศรษฐกิจและสังคมภายในประเทศให้มีความเข้มแข็ง เป็นโครงการที่ผนวกโครงการ OTOP เข้ากับการท่องเที่ยว โดยสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวเมืองรองขึ้น แล้วส่งนักท่องเที่ยวเข้าชุมชน แทนที่จะดึงวิสาหกิจออกจากชุมชนสู่เมืองอย่างที่โอท็อปเคยทำด้วยการจัดงานแฟร์ แล้วให้สินค้าชุมชนต่างๆเหล่านี้มาออกร้านขายของปีละสามสี่เดือน ส่วนที่เหลืออีกปีละแปดเก้าเดือน ก็เคว้ง ว่างงาน กับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป งานของโครงการชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถี เริ่มตั้งแต่การค้นหาจุดเด่นของชุมชน ดึงมาพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว สร้างเรื่องราว เรื่องเล่า ผสานกับการให้ความรู้กับชุมชนในการสร้างรายรับจากนักท่องเที่ยวที่เข้าสู่ชุมชน นวัตวิถี จึงเป็นโครงการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ภายใต้วิถีชีวิตปกติของชุมชนเอง อย่างไรก็ตาม หากต้องการทำให้โครงการมีความยั่งยืน ต้องมีการจัดการเพื่อให้การบริหารโครงการมีความต่อเนื่อง จำเป็นต้องมีการบำรุงรักษาและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว การรักษาความสะอาด การรักษาความปลอดภัย การพัฒนาสินค้าและบริการให้มีความว้าว

ภาษีเงินได้ของสมาคม สมาคมการค้า และมูลนิธิ

มูลนิธิ สมาคม และสมาคมการค้า จัดเป็นองค์การไม่แสวงหากำไร แต่ไม่ถือว่าเป็นองค์การที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล จนกว่าจะได้รับการประกาศให้เป็นสถานสาธารณกุศลตามประมวลรัษฎากร มาตรา 47(7)(ข) องค์การไม่แสวงหากำไรที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่ไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้เหล่านี้ ต้องเสียภาษีเงินได้ โดยคำนวณจากเงินได้ที่ได้รับก่อนหักค่าใช้จ่าย เนื่องจากองค์การเหล่านี้ ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าไม่หวังผลกำไรอย่างหน่วยธุรกิจทั่วไป ด้งนั้น องค์การไม่หวังผลกำไรแม้จะมีรายได้ และรายจ่า ย แต่หลักในการคำนวณภาษีเงินได้ จะคำนวณจากฐานคือเงินได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายใดๆ สำหรับอัตราภาษีขององค์การไม่หวังผลกำไรเหล่านี้ มีดังนี้ - กรณีเงินได้มาตรา 40(1)-(7) อัตราภาษีอยู่ที่ 10% ของเงินได้ - กรณีเงินได้มาตรา 40(8) เงินได้จากการพาณิชย์ อัตราภาษีอยู่ที่ 2% 🤞 🤞 🤞 ทั้งนี้ มีข้อยกเว้นไม่ต้องนำเงินได้มารวมคำนวณภาษีใน 3 กรณีคือ 1. ค่าธรรมเนียม หรือค่าบำรุงที่เก็บจากสมาชิก 2. เงินบริจาค 3. เงินได้โดยเสน่หา วางแผนการจัดตั้งสมาคมของคุณให้สอดคล้องกับภาระภาษีด้วยนะ จะได้มีเงินไว้สร้างกิจกรรมตามวัตถุประสง

3 ข้อดีของการใช้อาสาสมัครในสมาคม และองค์การไม่หวังผลกำไร

องค์การไม่หวังผลกำไร อย่างเช่น # มูลนิธิ # สมาคม # สมาคมการค้า มีจุดเด่นหนึ่งที่เหนือกว่าหน่วยธุรกิจ นั่นคือความสามารถในการใช้ประโยชน์จากอาสาสมัคร อาสาสมัคร คือบุคลากรที่เป็นมืออาชีพในงานปกติที่อาสาสมัครเหล่านี้ทำงานเพื่อรับค่าตอบแทน แต่อาสาสมัครเหล่านี้กลับยินดีที่จะใช้ความรู้ความสามารถที่มี มาทำงานให้แก่องค์การไม่หวังผลกำไร โดยที่ค่าตอบแทนไม่ใช่ปัจจัยจูงใจ 3 ข้อดีของการใช้อาสาสมัครในองค์การไม่หวังผลกำไร 1. ลดภาระทางการเงิน ปัญหาใหญ่เรื่องหนึ่งของหลายๆสมาคมการค้า นั่นคือความจำกัดของงบประมาณที่จะใช้ในการทำกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ ในขณะที่มีกิจกรรมตามพันธกิจมากมายเหลือเกินที่ต้องทำ บ่อยครั้งที่ความไม่สัมพันธ์กันเช่นนี้ ทำให้สมาคมเหล่านี้ ต้องปรับลด หรือละทิ้งพันธกิจของตนเองไป อย่างที่กล่าวข้างต้น อาสาสมัคร คือผู้ที่ต้องการอุทิศความรู้ความสามารถของตนเองให้กับการทำงานเพื่อส่วนรวม โดยที่เงินไม่ใช่ตัวตั้ง ดังนั้น สมาคม หรือองค์การที่ไม่หวังผลกำไรอื่นๆที่มองเห็นความจริงข้อนี้ และสามารถทำให้องค์การ เป็นที่สะดุดตาของอาสาสมัครเหล่านี้ ก็จะได้มืออาชีพม