ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ประโยชน์ที่สมาชิกคาดหวังจากสมาคมการค้า


สมาคมการค้า เป็นองค์การไม่หวังผลกำไรประเภท Member-based มีสมาชิกเป็นฐานสำคัญของสมาคมการค้า หากสมาคมการค้าใดที่ถูกสมาชิกทอดทิ้ง สมาคมนั้นก็ไม่อาจอยู่รอดได้ ดังนั้น การดูแลสมาชิก จึงเป็นหน้าที่สำคัญของสมาคมการค้า

โดยปกติ วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งสมาคมการค้า มักเป็นการส่งเสริมการประกอบการของสมาชิก ซึ่งสมาชิกก็คาดหวังที่จะได้รับบางสิ่งจากการเข้าร่วมกับสมาคมการค้า และต่อไปนี้ คือสิ่งที่สมาชิกคาดหวังที่จะได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมกับสมาคมการค้า

1. เครือข่ายธุรกิจ
เป็นประโยชน์พื้นฐานที่ผู้ประกอบการแต่ละรายมักคาดหวังจะได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมจากสมาคมการค้า ซึ่งเครือข่ายนี้ อาจเป็นได้ทั้งในระดับผู้จัดหาสินค้าหรือวัตถุดิบสำหรับกิจการ(Supplier)  หรือเป็นกลุ่มลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ หรือแม้แต่เครือข่ายของผู้ประกอบการในธุรกิจเดียวกันที่อาจพึ่งพาอาศัยกันได้
การตอบสนองความต้องการนี้ สมาคมการค้าอาจจัดกิจกรรมเช่น งานแสดงสินค้าของสมาชิก, การจับคู่ธุรกิจระหว่างธุรกิจภายนอกกับธุรกิจของสมาชิก หรือการจัดทำ Directory ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสมาชิกแต่ละราย เพื่อรับการติดต่อจากธุรกิจภายนอก เป็นต้น

2. การฝึกอบรม
ผู้ประกอบการที่ต้องการขึ้นไปถึงระดับบนของกลุ่มอุตสาหกรรม ไม่อาจละเลยต่อการพัฒนา อันที่จริง ด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมของธุรกิจในปัจจุบันที่มีเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว เพียงแค่เดินช้า ก็เท่ากับการถอยหลังแล้ว ดังนั้น การเรียนรู้ตลอดชีวิตจึงเป็นสิ่งจำเป็น ผู้ประกอบการจึงต้องขวนขวายเข้าร่วมการฝึกอบรมต่างๆที่เกี่ยวข้อง
สิ่งที่สมาคมการค้าควรทำก็คือ การเชื่อมต่อกับสถาบันต่างๆที่มีองค์ความรู้ ข้อมูล หรือเครื่องมือที่จะช่วยพัฒนาสมาชิกได้ หรือแม้แต่การสร้างองค์ความรู้ของตัวเองขึ้นมา ด้วยการทำวิจัย หรือระบบเก็บข้อมูลของอุตสาหกรรม หรือการสร้างเครื่องมือที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และคุณภาพให้การทำงานของสมาชิก

3. ใบประกาศนียบัตร หรือ ใบอนุญาต
ในหลายๆอุตสาหกรรมที่มีกำแพงในการเข้าสู่อุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมเกี่ยวกับสุขภาพ มักต้องผ่านการขออนุญาต หรือในอุตสาหกรรมการส่งออกข้าวในสมัยหนึ่งต้องมีโควตาในการส่งออก และสมาคมการค้ามักได้รับมอบอำนาจจากภาครัฐในการจัดสรรโควตาการส่งออกนี้ เหล่านี้ เป็นสิทธิบางอย่างที่มีการอ้างอิงอำนาจภาครัฐ ซึ่งเป็นสิ่งที่ธุรกิจคาดหวังจากการเป็นสมาชิกสมาคมการค้า
อย่างไรก็ตาม ในอุตสาหกรรมที่ไม่มีอำนาจรัฐให้อ้างอิงดังกล่าวข้างต้น สมาคมการค้าก็สามารถสร้างอำนาจการจัดสรรเช่นนี้ขึ้นมาได้เอง เช่น การสร้างแบรนด์ของสินค้าหรือบริการสักอย่างที่จะช่วยส่งเสริมความมีชื่อเสียงของธุรกิจสมาชิก เป็นต้นว่า เครื่องหมายรับรองคุณภาพของสินค้าหรือบริการ การรับรองว่าผ่านการอบรมในหลักสูตรชั้นสูง เป็นต้น เช่นนี้ ทำให้สิทธิประโยชน์ของการเป็นสมาชิก เป็นสิ่งมีค่ามากขึ้น

4. ความมีอิทธิพลต่อภายนอก
บทบาทของภาครัฐต่อกลุ่มอุตสาหกรรมใดๆ มักจะแสดงบทบาทในสองด้าน คือการกำกับ และการส่งเสริม ผ่านนโยบายที่เกี่ยวกับกลุ่มอุตสาหกรรม
สมาคมการค้า มีสถานะเป็นตัวแทนของสมาชิกต่อภายนอก สมาคมการค้าจึงมักเป็นจุดด้างอิง เป็นฝ่ายประชาสัมพันธ์ของกลุ่มอุตสาหกรรม ภาครัฐมักใช้ข้อมูลและความเห็นของสมาคมการค้า เป็นส่วนประกอบในการวางนโยบาย ธุรกิจสมาชิก จึงคาดหวังบทบาทของสมาคมการค้าในทางที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของภาครัฐ ทั้งในด้านวิธีกำกับที่เหมาะสม และดึงความช่วยเหลือจากภาครัฐเข้าสู่ภายในอุตสาหกรรม

5. ข้อมูลข่าวสาร
สมาชิกมักคาดหวังจะได้รับข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้อง อย่างถูกต้องและรวดเร็วจากสมาคมการค้า เพื่อที่จะได้วางแผนรับสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นแต่เนิ่นๆ
สิ่งที่สมาคมการค้าควรทำ นอกจากจะดำเนินการติดตามข่าวสารที่เกี่ยวข้องแล้ว การสร้างช่องทางในการติดต่อกับสมาชิกอย่างมีประสิทธิภาพก็มีความสำคัญอย่างยิ่ง ประโยชน์ที่ได้จากช่องทางนี้ นอกจากจะเป็นการส่งข่าวสารไปถึงสมาชิกแล้ว ยังสามารถใช้เป็นช่องทางในการสร้างรายได้ชนิดที่ไม่ใช่ค่าธรรมเนียม โดยได้จากผู้สนับสนุนที่ต้องการช่องทางในการส่งข่าวสารไปถึงสมาชิกของสมาคม

6. วิธีปฏิบัติที่ดี
ในแต่ละอุตสาหกรรม มักมีรายละเอียดวิธีปฏิบัติงานที่แตกต่างกันไป แม้จะเรียนทฤษฎีการบริหารจัดการเล่มเดียวกัน ใช้ทฤษฎีการตลาดเดียวกัน ใช้หลักการบริหารสต๊อคแบบ FIFO เหมือนกัน แต่ในอุตสาหกรรมยา ย่อมมีรายละเอียดวิธีการจัดการคลังสินค้าที่ต่างจากอุตสาหกรรมพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ไม่มีทางที่ผู้ประกอบการรายหนึ่งรายใด จะมีวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดในทุกด้าน แต่การมีวิธีการปฏิบัติที่ดีในการทำงาน จะช่วยเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพในการประกอบธุรกิจ
เป็นการยากที่จะให้ธุรกิจที่เป็นคู่แข่งกัน ดำเนินการแบ่งปัน หรือร่วมกันสร้างวิธีปฏิบัติที่ดีในด้านต่างๆของอุตสาหกรรม แต่เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ที่สมาคมการค้าจะเป็นผู้นำในการรวบรวมองค์ความรู้จากสมาชิก มาสร้างเป็นวิธีปฏิบัติที่ดีในด้านต่างๆ เพื่อถ่ายทอดให้สมาชิกได้นำไปใช้ในการพัฒนา เป็นการยกระดับคุณภาพของอุตสาหกรรมได้ในอีกทางหนึ่งด้วย

7. พื้นที่ทางสังคม
ตามทฤษฎีลำดับขั้นแห่งความต้องการของมาสโลว์ (Maslow's Hierarchy of Needs) ความต้องการความเคารพนับถือ เป็นความต้องการในลำดับสูงๆของมนุษย์ เมื่อสมาชิกผ่านความสำเร็จของการประกอบธุรกิจมาระดับหนึ่ง จะเริ่มคิดถึงการสร้างพื้นที่ทางสังคมของตนเอง เพื่อตอบสนองความต้องการนี้
สมาคมการค้า สามารถสร้างพื้นเพื่อรองรับความต้องการเช่นนี้ของสมาชิก เช่น อาจเปิดพื้นที่การรับฟังคำแนะนำจากสมาชิก ผู้บริหารสมาคมสามารถพบความคิดดีๆจากช่องทางเหล่านี้ได้ นอกจากนี้ พื้นที่นี้ยังอาจเป็นที่มาของผู้สนับสนุน เป็นแหล่งของทรัพยากร หรือแม้แต่กระทั่งเป็นอาสาสมัครในกิจกรรมต่างๆของสมาคมการค้า

สมาคมการค้าของคุณ ได้ตอบสนองความคาดหวังเหล่านี้ของสมาชิกแล้วหรือยัง ?

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

6 แหล่งรายได้ของสมาคม

สมาคมการค้าส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องขนาดงบประมาณที่จะใช้ในการผลักดันกิจกรรมของสมาคม ครั้นจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มจากสมาชิก สมาขิกก็มักจะไม่ยินยอมให้เก็บเพิ่ม สมาคมการค้าจึงมักจะต้องใช้วิธีปรับลดกิจกรรมตามแผนงานลง ปัญหาเช่นนี้มักเกิดขึ้นกับองค์การที่ไม่หวังผลกำไรอื่นประเภทที่เน้นบทบาทของสมาชิกด้วย อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาดีๆ สมาชิกไม่ใช่แหล่งรายได้เดียวของสมาคมการค้า เมื่อจำแนกรายได้ของสมาคม จากเจ้าของเงิน เราสามารถแบ่งได้เป็น 1.สมาชิก :  สมาชิกเป็นแหล่งรายได้แรกๆที่สมาคมจะคิดถึง อย่างไรก็ตาม สมาคมสามารถได้รับรายได้จากสมาชิก ไม่เพียงแต่ในรูปแบบของค่าธรรมเนียมเท่านั้น สมาคมยังสามารถสร้างสรรค์บริการอื่นที่ตรงใจสมาชิก เพื่อรับค่าบริการเป็นการตอบแทน เช่นการอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพของสมาชิก, การจัดกิจกรรมเพื่อสร้างโอกาสทางการตลาดแก่สมาชิก เป็นต้น 2.ภาครัฐ :  องค์การไม่หวังผลกำไร เกิดขึ้นจากการที่รัฐบาลไม่สามารถดูแลงานภาคสังคมได้ทั่วถึง จึงเกิดการรวมตัวกันของชุมชนเข้ามาช่วยจัดการแทนภาครัฐ ดังนั้นภาครัฐจึงสนับสนุนงบประมาณและอื่นๆ เป็นการตอบแทนการทำหน้าที่แทนรัฐบาลขององค์การไม่แสวงหากำไร

Funding Model เพื่อการบริหารชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถีอย่างยั่งยืน

นวัตวิถีคือโครงการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้เกิดรายได้กับชุมชน โดยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างทั่วถึง กระตุ้นเศรษฐกิจและสังคมภายในประเทศให้มีความเข้มแข็ง เป็นโครงการที่ผนวกโครงการ OTOP เข้ากับการท่องเที่ยว โดยสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวเมืองรองขึ้น แล้วส่งนักท่องเที่ยวเข้าชุมชน แทนที่จะดึงวิสาหกิจออกจากชุมชนสู่เมืองอย่างที่โอท็อปเคยทำด้วยการจัดงานแฟร์ แล้วให้สินค้าชุมชนต่างๆเหล่านี้มาออกร้านขายของปีละสามสี่เดือน ส่วนที่เหลืออีกปีละแปดเก้าเดือน ก็เคว้ง ว่างงาน กับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป งานของโครงการชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถี เริ่มตั้งแต่การค้นหาจุดเด่นของชุมชน ดึงมาพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว สร้างเรื่องราว เรื่องเล่า ผสานกับการให้ความรู้กับชุมชนในการสร้างรายรับจากนักท่องเที่ยวที่เข้าสู่ชุมชน นวัตวิถี จึงเป็นโครงการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ภายใต้วิถีชีวิตปกติของชุมชนเอง อย่างไรก็ตาม หากต้องการทำให้โครงการมีความยั่งยืน ต้องมีการจัดการเพื่อให้การบริหารโครงการมีความต่อเนื่อง จำเป็นต้องมีการบำรุงรักษาและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว การรักษาความสะอาด การรักษาความปลอดภัย การพัฒนาสินค้าและบริการให้มีความว้าว

ภาษีเงินได้ของสมาคม สมาคมการค้า และมูลนิธิ

มูลนิธิ สมาคม และสมาคมการค้า จัดเป็นองค์การไม่แสวงหากำไร แต่ไม่ถือว่าเป็นองค์การที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล จนกว่าจะได้รับการประกาศให้เป็นสถานสาธารณกุศลตามประมวลรัษฎากร มาตรา 47(7)(ข) องค์การไม่แสวงหากำไรที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่ไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้เหล่านี้ ต้องเสียภาษีเงินได้ โดยคำนวณจากเงินได้ที่ได้รับก่อนหักค่าใช้จ่าย เนื่องจากองค์การเหล่านี้ ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าไม่หวังผลกำไรอย่างหน่วยธุรกิจทั่วไป ด้งนั้น องค์การไม่หวังผลกำไรแม้จะมีรายได้ และรายจ่า ย แต่หลักในการคำนวณภาษีเงินได้ จะคำนวณจากฐานคือเงินได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายใดๆ สำหรับอัตราภาษีขององค์การไม่หวังผลกำไรเหล่านี้ มีดังนี้ - กรณีเงินได้มาตรา 40(1)-(7) อัตราภาษีอยู่ที่ 10% ของเงินได้ - กรณีเงินได้มาตรา 40(8) เงินได้จากการพาณิชย์ อัตราภาษีอยู่ที่ 2% 🤞 🤞 🤞 ทั้งนี้ มีข้อยกเว้นไม่ต้องนำเงินได้มารวมคำนวณภาษีใน 3 กรณีคือ 1. ค่าธรรมเนียม หรือค่าบำรุงที่เก็บจากสมาชิก 2. เงินบริจาค 3. เงินได้โดยเสน่หา วางแผนการจัดตั้งสมาคมของคุณให้สอดคล้องกับภาระภาษีด้วยนะ จะได้มีเงินไว้สร้างกิจกรรมตามวัตถุประสง