ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การสร้างสรรค์โครงการใหม่ของสมาคมการค้า

โครงการใหม่โครงการแรกที่ผมทำเมื่อครั้งที่เป็นกรรมการบริหารสมาคมร้านขายยา คือโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการร้านยา หรือ Nano MBA by TPA

ตามแผนที่วางไว้ ในโครงการจะประกอบด้วย การสัมมนา, การรวมกลุ่มให้แน่นขึ้น และการเข้าสู่โอกาสธุรกิจใหม่ๆ เราจะก้าวข้ามเส้นแบ่งธุรกิจร้านขายยาออกไปข้างนอก

เราทำได้จริงแค่สองอย่าง เรายังไม่สามารถก้าวข้ามเส้นแบ่งนี้ได้ เรายังไม่สามารถจัดองค์การที่จะนำสมาชิกที่เกาะกลุ่มกันแล้ว

จาก #NanoMBA รุ่น 1 ผ่านไป 6-7 ปี จึงจะสามารถทำโครงการใหม่ คือ #สมุนไพรในร้านขายยา

ถ้ามองจากบริบทปัจจุบัน สู่อนาคต กิจกรรมใหม่ๆที่สร้างขึ้นนี้ ช้าเกินไป เมื่อคิดถึงว่า ทุกวันนี้สถานการณ์เปลี่ยนไปเร็วมาก วงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ในท้องตลาดจะสั้นลงเรื่อยๆ เพราะมีของใหม่ออกมาทดแทนเร็วขึ้น

สองเดือนก่อน เรายังพูดออเจ้า นุ่งห่มสไบกันทั่วบ้านเมืองจากกระแส #บุพเพสันนิวาส แต่วันนี้ เหลือแค่โฆษณาไม่กี่เจ้าเท่านั้นที่ยังออเจ้าอยู่

เช่นเดียวกัน กิจกรรมที่ทำมา ในที่สุดก็จะไม่ได้รับความนิยม หาก #สมาคม หรือ #สมาคมการค้า ไม่สามารถสร้างกิจกรรมใหม่ออกมาตอบสนองสังคมและสมาชิกได้ ตามแนวโน้มของสภาพแวดล้อมที่มันเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้นเรื่อยๆ ในที่สุด สมาคมนั้นจะถูกสมาชิกทอดทิ้ง

เพราะสมาชิกเองในฐานะผู้ประกอบการ ก็ต้องพยายามตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนอย่างรวดเร็ว ส่วนลูกค้าเองก็ถูกชักจูงไปด้วยเทคโนยีที่เปลี่ยนเร็วขึ้นเรื่อยๆ หากสมาชิกปรับตัวไม่ทัน ธุรกิจของสมาชิกก็จะถูกลูกค้าทอดทิ้ง

ดังนั้น #สมาคม โดยเฉพาะ #สมาคมการค้า จึงต้องสนับสนุนสมาชิกด้วยกิจกรรมใหม่ๆ ที่มุ่งไปตามแนวโน้ม เราอาจต้องทำใจว่า กิจกรรมใหม่ของเราอาจจะดังเป็นพลุแตกสว่างวาบไปทั่ว แต่อาจคงอยู่แค่วูบเดียวก่อนจะร่วงจากฟ้า กิจกรรมแบบคิดทีเดียวอยู่ได้ดีๆเป็นสิบปี อาจทำได้ยากขึ้น

ในอนาคต เราต้องเร่งกระบวนการสร้างกิจกรรมใหม่ออกมา ประเภทที่ว่า 6 ปี ค่อยเกิดโครงการใหม่ น่าจะไม่ทัน

#บริหารสมาคมการค้า

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

6 แหล่งรายได้ของสมาคม

สมาคมการค้าส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องขนาดงบประมาณที่จะใช้ในการผลักดันกิจกรรมของสมาคม ครั้นจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มจากสมาชิก สมาขิกก็มักจะไม่ยินยอมให้เก็บเพิ่ม สมาคมการค้าจึงมักจะต้องใช้วิธีปรับลดกิจกรรมตามแผนงานลง ปัญหาเช่นนี้มักเกิดขึ้นกับองค์การที่ไม่หวังผลกำไรอื่นประเภทที่เน้นบทบาทของสมาชิกด้วย อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาดีๆ สมาชิกไม่ใช่แหล่งรายได้เดียวของสมาคมการค้า เมื่อจำแนกรายได้ของสมาคม จากเจ้าของเงิน เราสามารถแบ่งได้เป็น 1.สมาชิก :  สมาชิกเป็นแหล่งรายได้แรกๆที่สมาคมจะคิดถึง อย่างไรก็ตาม สมาคมสามารถได้รับรายได้จากสมาชิก ไม่เพียงแต่ในรูปแบบของค่าธรรมเนียมเท่านั้น สมาคมยังสามารถสร้างสรรค์บริการอื่นที่ตรงใจสมาชิก เพื่อรับค่าบริการเป็นการตอบแทน เช่นการอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพของสมาชิก, การจัดกิจกรรมเพื่อสร้างโอกาสทางการตลาดแก่สมาชิก เป็นต้น 2.ภาครัฐ :  องค์การไม่หวังผลกำไร เกิดขึ้นจากการที่รัฐบาลไม่สามารถดูแลงานภาคสังคมได้ทั่วถึง จึงเกิดการรวมตัวกันของชุมชนเข้ามาช่วยจัดการแทนภาครัฐ ดังนั้นภาครัฐจึงสนับสนุนงบประมาณและอื่นๆ เป็นการตอบแทนการทำหน้าที่แทนรัฐบาลขององค์การไม่แสวงหากำไร

5 เหตุผลที่สมาคมการค้าต้องทำโมเดลธุรกิจของตัวเอง

สมาคมการค้า เป็นที่รวมของผู้ประกอบการในธุรกิจเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน เพื่อสร้างความร่วมมือ โดยหวังผลจากพลังผนึกที่ให้ผลหนึ่งบวกหนึ่งที่มากกว่าสอง แต่ในความเป็นจริงอาจไม่เป็นเหมือนดังที่คิด หลายๆสมาคมอาจกลายเป็นเพียงกลุ่มสังสรรค์นัดรับประทานอาหารกันตามโอกาส หรือแม้แต่กระทั่ง การดำเนินกิจกรรมของบางสมาคมการค้าที่เหมือนจะแข่งกับธุรกิจของสมาชิกโดยตรง การทำโมเดลธุรกิจ เป็นคำตอบที่ช่วยให้สมาคมได้ทบทวนสิ่งที่กำลังทำอยู่ 👉 โมเดลธุรกิจคืออะไร ? โมเดลธุรกิจ คือโครงสร้างหรือแนวทางการทำงานของสมาคม ซึ่งในโมเดลธุรกิจจะบอกว่าสมาคมของคุณจะทำอะไร ให้กับใคร อย่างไร ด้วยทรัพยากรหรือความสามารถอะไร หลายๆหน่วยงานอาจจะคุ้นเคยกับแผนธุรกิจหรือแผนงานที่อาจมีการเปลี่ยนแผนบ่อยๆ แต่โมเดลธุรกิจของแต่ละหน่วยงานจะไม่เปลี่ยนโดยง่าย 👉 5 เหตุผลที่สมาคมการค้าต้องทำโมเดลธุรกิจของตัวเอง 1. ถ้าไม่ตอบสนองความต้องการของสมาชิก สมาคมจะสูญเสียฐานค้ำยัน ทุกสมาคมการค้า มีสมาชิกเป็นรากฐานสำคัญที่ค้ำยันความจำเป็นของการมีสมาคมการค้านั้นๆ และสมาชิกก็หวังความช่วยเหลือหรือประโยชน์บางอย่างจากสมาคมการค้านั้น หากสมาคมไม่สามาร

Funding Model เพื่อการบริหารชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถีอย่างยั่งยืน

นวัตวิถีคือโครงการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้เกิดรายได้กับชุมชน โดยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างทั่วถึง กระตุ้นเศรษฐกิจและสังคมภายในประเทศให้มีความเข้มแข็ง เป็นโครงการที่ผนวกโครงการ OTOP เข้ากับการท่องเที่ยว โดยสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวเมืองรองขึ้น แล้วส่งนักท่องเที่ยวเข้าชุมชน แทนที่จะดึงวิสาหกิจออกจากชุมชนสู่เมืองอย่างที่โอท็อปเคยทำด้วยการจัดงานแฟร์ แล้วให้สินค้าชุมชนต่างๆเหล่านี้มาออกร้านขายของปีละสามสี่เดือน ส่วนที่เหลืออีกปีละแปดเก้าเดือน ก็เคว้ง ว่างงาน กับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป งานของโครงการชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถี เริ่มตั้งแต่การค้นหาจุดเด่นของชุมชน ดึงมาพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว สร้างเรื่องราว เรื่องเล่า ผสานกับการให้ความรู้กับชุมชนในการสร้างรายรับจากนักท่องเที่ยวที่เข้าสู่ชุมชน นวัตวิถี จึงเป็นโครงการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ภายใต้วิถีชีวิตปกติของชุมชนเอง อย่างไรก็ตาม หากต้องการทำให้โครงการมีความยั่งยืน ต้องมีการจัดการเพื่อให้การบริหารโครงการมีความต่อเนื่อง จำเป็นต้องมีการบำรุงรักษาและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว การรักษาความสะอาด การรักษาความปลอดภัย การพัฒนาสินค้าและบริการให้มีความว้าว