ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สมาคมของคุณมีทฤษฎีธุรกิจอย่างไร

ทฤษฎีธุรกิจ Business Theory ในความหมายของ Peter F. Drucker คือสมมุติฐานสามเรื่องที่เป็นพื้นฐานในการดำเนินการของทุกองค์กร หรือแม้แต่กระทั่งปัจเจกชนแต่ละคน ประกอบด้วย 1. สมมุติฐานเรื่องสิ่งแวดล้อม  2. พันธกิจ หรือสิ่งที่ทำ  และ 3. คือความสามารถหลัก

สมมุติว่า คุณบอกตัวเองว่างานของคุณคืดการรดน้ำต้นไม้ นั่นคือพันธกิจของคุณ แต่ถ้าคุณกำลังพยายามรดน้ำในห้องรับแขก นั่นคือพันธกิจของคุณไม่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม ถ้าแต่สภาพแวดล้อมของคุณเป็นสนามกอล์ฟขนาดสิบแปดหลุม โดยที่มีแค่ตัวคุณคนเดียวกับถังน้ำฝักบัวถังนึง นั่นก็คือความสามารถหลักของคุณไม่ถึง คุณไม่มีทางจะทำพันธกิจของคุณให้สำเร็จโดยดี ด้วยความสามารถหลักเพียงแค่นี้

สามสิ่งนี้ต้องสอดคล้องกัน งานขององค์การจึงจะดำเนินไปได้อย่างราบรื่น ทุกองค์การ ทุกสมาคม จะมีทฤษฎีธุรกิจของตัวเองอยู่ แม้ว่าจะไม่เป็นลายลักษณ์อักษรก็ตาม

และด้วยความที่ไม่ได้เป็นลายลักษณ์อักษรให้เราเห็นชัดเจน เราจึงไม่ค่อยเห็นถึงความไม่สอดคล้องกันที่เกิดขึ้น

ทุกวันนี้ พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไปตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนอย่างรวดเร็ว สิบปีที่แล้ว คนกลัวการซื้อของผ่านเวบไซต์ แต่ทุกวันนี้ธุรกรรมออนไลน์เข้าแทนที่การเดินไปซื้อของที่หน้าร้าน หรือพฤติกรรมการอ่านหนังสือ ถูกแทนที่ด้วยการอ่านออนไลน์ต่างๆ จนสิ่งพิมพ์ต่างๆเริ่มคิดถึงวันสุดท้ายของธุรกิจหากไม่สามารถปรับตัวได้ทัน

ถ้าสมาคมคุณมีรายได้ส่วนหนึ่งจากค่าสปอนเซอร์ในวารสารของสมาคม ก็ใกล้ถึงเวลาบอกลารายได้ส่วนนี้เต็มทีละ ตัวอย่างก็เห็นได้จากธุรกิจสิ่งพิมพ์ทั่วไป

ถ้าคุณกำหนดพันธกิจของคุณว่า เป็นตัวแทนของสมาชิกในการเจรจากับภาครัฐเพื่อแก้ไขการกำกับดูแล ในขณะที่สมาชิกกำลังถูกคุกคามจากการแข่งขัน และจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ก็เหมือนกับคุณพยายามจะชกกับกรรมการบนเวที แทนที่จะต่อสู้กับนักมวยอีกฝ่ายหนึ่ง

ความล้มเหลวของธุรกิจยักษ์ใหญ่ที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ไม่ใช่ผิดที่ "How to do" แต่มักจะพลาดที่ "What to do" ต่างหาก

การเสียทรัพยากรไปในการทำสิ่งที่ไม่สมควรทำ และละเลยการทำในสิ่งที่สมควรจะทำ สักพักคุณก็จะไม่มีทรัพยากรเหลือให้ทำอะไรอีก ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่สมควรหรือไม่สมควรทำ เหมือนยักษ์ที่ล้มไปตัวแล้วตัวเล่า

องค์การ (Organization) ของคุณก็เหมือนกัน คุณเลยลองสำรวจดูหรือไม่ว่า กำลังพยายามทำสิ่งไร้ประโยชน์อยู่หรือเปล่า

ถึงเวลาต้องทบทวนทฤษฎีทางธุรกิจของหน่วยงานของคุณแล้วล่ะ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

6 แหล่งรายได้ของสมาคม

สมาคมการค้าส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องขนาดงบประมาณที่จะใช้ในการผลักดันกิจกรรมของสมาคม ครั้นจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มจากสมาชิก สมาขิกก็มักจะไม่ยินยอมให้เก็บเพิ่ม สมาคมการค้าจึงมักจะต้องใช้วิธีปรับลดกิจกรรมตามแผนงานลง ปัญหาเช่นนี้มักเกิดขึ้นกับองค์การที่ไม่หวังผลกำไรอื่นประเภทที่เน้นบทบาทของสมาชิกด้วย อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาดีๆ สมาชิกไม่ใช่แหล่งรายได้เดียวของสมาคมการค้า เมื่อจำแนกรายได้ของสมาคม จากเจ้าของเงิน เราสามารถแบ่งได้เป็น 1.สมาชิก :  สมาชิกเป็นแหล่งรายได้แรกๆที่สมาคมจะคิดถึง อย่างไรก็ตาม สมาคมสามารถได้รับรายได้จากสมาชิก ไม่เพียงแต่ในรูปแบบของค่าธรรมเนียมเท่านั้น สมาคมยังสามารถสร้างสรรค์บริการอื่นที่ตรงใจสมาชิก เพื่อรับค่าบริการเป็นการตอบแทน เช่นการอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพของสมาชิก, การจัดกิจกรรมเพื่อสร้างโอกาสทางการตลาดแก่สมาชิก เป็นต้น 2.ภาครัฐ :  องค์การไม่หวังผลกำไร เกิดขึ้นจากการที่รัฐบาลไม่สามารถดูแลงานภาคสังคมได้ทั่วถึง จึงเกิดการรวมตัวกันของชุมชนเข้ามาช่วยจัดการแทนภาครัฐ ดังนั้นภาครัฐจึงสนับสนุนงบประมาณและอื่นๆ เป็นการตอบแทนการทำหน้าที่แทนรัฐบาลขององค์การไม่แสวงหากำไร

5 เหตุผลที่สมาคมการค้าต้องทำโมเดลธุรกิจของตัวเอง

สมาคมการค้า เป็นที่รวมของผู้ประกอบการในธุรกิจเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน เพื่อสร้างความร่วมมือ โดยหวังผลจากพลังผนึกที่ให้ผลหนึ่งบวกหนึ่งที่มากกว่าสอง แต่ในความเป็นจริงอาจไม่เป็นเหมือนดังที่คิด หลายๆสมาคมอาจกลายเป็นเพียงกลุ่มสังสรรค์นัดรับประทานอาหารกันตามโอกาส หรือแม้แต่กระทั่ง การดำเนินกิจกรรมของบางสมาคมการค้าที่เหมือนจะแข่งกับธุรกิจของสมาชิกโดยตรง การทำโมเดลธุรกิจ เป็นคำตอบที่ช่วยให้สมาคมได้ทบทวนสิ่งที่กำลังทำอยู่ 👉 โมเดลธุรกิจคืออะไร ? โมเดลธุรกิจ คือโครงสร้างหรือแนวทางการทำงานของสมาคม ซึ่งในโมเดลธุรกิจจะบอกว่าสมาคมของคุณจะทำอะไร ให้กับใคร อย่างไร ด้วยทรัพยากรหรือความสามารถอะไร หลายๆหน่วยงานอาจจะคุ้นเคยกับแผนธุรกิจหรือแผนงานที่อาจมีการเปลี่ยนแผนบ่อยๆ แต่โมเดลธุรกิจของแต่ละหน่วยงานจะไม่เปลี่ยนโดยง่าย 👉 5 เหตุผลที่สมาคมการค้าต้องทำโมเดลธุรกิจของตัวเอง 1. ถ้าไม่ตอบสนองความต้องการของสมาชิก สมาคมจะสูญเสียฐานค้ำยัน ทุกสมาคมการค้า มีสมาชิกเป็นรากฐานสำคัญที่ค้ำยันความจำเป็นของการมีสมาคมการค้านั้นๆ และสมาชิกก็หวังความช่วยเหลือหรือประโยชน์บางอย่างจากสมาคมการค้านั้น หากสมาคมไม่สามาร

Funding Model เพื่อการบริหารชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถีอย่างยั่งยืน

นวัตวิถีคือโครงการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้เกิดรายได้กับชุมชน โดยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างทั่วถึง กระตุ้นเศรษฐกิจและสังคมภายในประเทศให้มีความเข้มแข็ง เป็นโครงการที่ผนวกโครงการ OTOP เข้ากับการท่องเที่ยว โดยสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวเมืองรองขึ้น แล้วส่งนักท่องเที่ยวเข้าชุมชน แทนที่จะดึงวิสาหกิจออกจากชุมชนสู่เมืองอย่างที่โอท็อปเคยทำด้วยการจัดงานแฟร์ แล้วให้สินค้าชุมชนต่างๆเหล่านี้มาออกร้านขายของปีละสามสี่เดือน ส่วนที่เหลืออีกปีละแปดเก้าเดือน ก็เคว้ง ว่างงาน กับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป งานของโครงการชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถี เริ่มตั้งแต่การค้นหาจุดเด่นของชุมชน ดึงมาพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว สร้างเรื่องราว เรื่องเล่า ผสานกับการให้ความรู้กับชุมชนในการสร้างรายรับจากนักท่องเที่ยวที่เข้าสู่ชุมชน นวัตวิถี จึงเป็นโครงการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ภายใต้วิถีชีวิตปกติของชุมชนเอง อย่างไรก็ตาม หากต้องการทำให้โครงการมีความยั่งยืน ต้องมีการจัดการเพื่อให้การบริหารโครงการมีความต่อเนื่อง จำเป็นต้องมีการบำรุงรักษาและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว การรักษาความสะอาด การรักษาความปลอดภัย การพัฒนาสินค้าและบริการให้มีความว้าว