ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

3 ข้อดีของการใช้อาสาสมัครในสมาคม และองค์การไม่หวังผลกำไร


องค์การไม่หวังผลกำไร อย่างเช่น #มูลนิธิ #สมาคม #สมาคมการค้า มีจุดเด่นหนึ่งที่เหนือกว่าหน่วยธุรกิจ นั่นคือความสามารถในการใช้ประโยชน์จากอาสาสมัคร
อาสาสมัคร คือบุคลากรที่เป็นมืออาชีพในงานปกติที่อาสาสมัครเหล่านี้ทำงานเพื่อรับค่าตอบแทน แต่อาสาสมัครเหล่านี้กลับยินดีที่จะใช้ความรู้ความสามารถที่มี มาทำงานให้แก่องค์การไม่หวังผลกำไร โดยที่ค่าตอบแทนไม่ใช่ปัจจัยจูงใจ

3 ข้อดีของการใช้อาสาสมัครในองค์การไม่หวังผลกำไร

1.ลดภาระทางการเงิน
ปัญหาใหญ่เรื่องหนึ่งของหลายๆสมาคมการค้า นั่นคือความจำกัดของงบประมาณที่จะใช้ในการทำกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ ในขณะที่มีกิจกรรมตามพันธกิจมากมายเหลือเกินที่ต้องทำ บ่อยครั้งที่ความไม่สัมพันธ์กันเช่นนี้ ทำให้สมาคมเหล่านี้ ต้องปรับลด หรือละทิ้งพันธกิจของตนเองไป
อย่างที่กล่าวข้างต้น อาสาสมัคร คือผู้ที่ต้องการอุทิศความรู้ความสามารถของตนเองให้กับการทำงานเพื่อส่วนรวม โดยที่เงินไม่ใช่ตัวตั้ง ดังนั้น สมาคม หรือองค์การที่ไม่หวังผลกำไรอื่นๆที่มองเห็นความจริงข้อนี้ และสามารถทำให้องค์การ เป็นที่สะดุดตาของอาสาสมัครเหล่านี้ ก็จะได้มืออาชีพมาร่วมงานแบบไม่เสียค่าตอบแทน หรือเสียไม่มาก อันเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายของสมาคมได้มาก

2.ภาพลักษณ์ของการเป็นที่ยอมรับ
ไม่ใช่ทุกสมาคม หรือทุกองค์การที่จะเป็นที่ต้องการร่วมงานของเหล่าผู้มีจิตอาสาเหล่านี้ จะมีก็เฉพาะแต่องค์การที่เป็นที่ยอมรับเท่านั้น ที่จะสามารถดึดดูดเหล่าอาสาสมัครให้มาร่วมงานด้วย
ดังนั้น หากองค์การใดที่สามารถดึงดูดเหล่าอาสาสมัครมาร่วมงานด้วย จะทำให้เป็นที่ยอมรับของกลุ่ม ของชุมชนที่สมาคม หรือองค์การนั้นเป็นตัวแทน หรือเกี่ยวข้อง การมีอาสาสมัครมาร่วมงานจึงเป็นการเสริมภาพลักษณ์ขององค์การ ให้เป็นที่ยอมรับในวงกว้างมากขึ้นอีกด้วย

3.ความหลากหลาย
อาสาสมัคร คือคนอีกกลุ่มหนึ่งที่มีมุมมองต่างไปจากบุคลากรภายในของสมาคม หรือองค์การฯ การเปิดพื้นที่ให้อาสาสมัครที่มีพื้นฐานที่หลากหลายเข้ามามีส่วนร่วม นอกจากจะมีพลังมากขึ้นแล้ว ยังทำให้กว้างขวางมากขึ้น จากความหลากหลายของอาสาสมัครที่เข้ามาร่วมงานอีกด้วย

สมาคม และองค์การไม่หวังผลกำไรอื่นๆ ไม่ควรละเลยการสร้างอาสาสมัครให้เป็นส่วนหนึ่งของแผน และโครงสร้างองค์การ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

6 แหล่งรายได้ของสมาคม

สมาคมการค้าส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องขนาดงบประมาณที่จะใช้ในการผลักดันกิจกรรมของสมาคม ครั้นจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มจากสมาชิก สมาขิกก็มักจะไม่ยินยอมให้เก็บเพิ่ม สมาคมการค้าจึงมักจะต้องใช้วิธีปรับลดกิจกรรมตามแผนงานลง ปัญหาเช่นนี้มักเกิดขึ้นกับองค์การที่ไม่หวังผลกำไรอื่นประเภทที่เน้นบทบาทของสมาชิกด้วย อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาดีๆ สมาชิกไม่ใช่แหล่งรายได้เดียวของสมาคมการค้า เมื่อจำแนกรายได้ของสมาคม จากเจ้าของเงิน เราสามารถแบ่งได้เป็น 1.สมาชิก :  สมาชิกเป็นแหล่งรายได้แรกๆที่สมาคมจะคิดถึง อย่างไรก็ตาม สมาคมสามารถได้รับรายได้จากสมาชิก ไม่เพียงแต่ในรูปแบบของค่าธรรมเนียมเท่านั้น สมาคมยังสามารถสร้างสรรค์บริการอื่นที่ตรงใจสมาชิก เพื่อรับค่าบริการเป็นการตอบแทน เช่นการอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพของสมาชิก, การจัดกิจกรรมเพื่อสร้างโอกาสทางการตลาดแก่สมาชิก เป็นต้น 2.ภาครัฐ :  องค์การไม่หวังผลกำไร เกิดขึ้นจากการที่รัฐบาลไม่สามารถดูแลงานภาคสังคมได้ทั่วถึง จึงเกิดการรวมตัวกันของชุมชนเข้ามาช่วยจัดการแทนภาครัฐ ดังนั้นภาครัฐจึงสนับสนุนงบประมาณและอื่นๆ เป็นการตอบแทนการทำหน้าที่แทนรัฐบาลขององค์การไม่แสวงหากำไร

5 เหตุผลที่สมาคมการค้าต้องทำโมเดลธุรกิจของตัวเอง

สมาคมการค้า เป็นที่รวมของผู้ประกอบการในธุรกิจเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน เพื่อสร้างความร่วมมือ โดยหวังผลจากพลังผนึกที่ให้ผลหนึ่งบวกหนึ่งที่มากกว่าสอง แต่ในความเป็นจริงอาจไม่เป็นเหมือนดังที่คิด หลายๆสมาคมอาจกลายเป็นเพียงกลุ่มสังสรรค์นัดรับประทานอาหารกันตามโอกาส หรือแม้แต่กระทั่ง การดำเนินกิจกรรมของบางสมาคมการค้าที่เหมือนจะแข่งกับธุรกิจของสมาชิกโดยตรง การทำโมเดลธุรกิจ เป็นคำตอบที่ช่วยให้สมาคมได้ทบทวนสิ่งที่กำลังทำอยู่ 👉 โมเดลธุรกิจคืออะไร ? โมเดลธุรกิจ คือโครงสร้างหรือแนวทางการทำงานของสมาคม ซึ่งในโมเดลธุรกิจจะบอกว่าสมาคมของคุณจะทำอะไร ให้กับใคร อย่างไร ด้วยทรัพยากรหรือความสามารถอะไร หลายๆหน่วยงานอาจจะคุ้นเคยกับแผนธุรกิจหรือแผนงานที่อาจมีการเปลี่ยนแผนบ่อยๆ แต่โมเดลธุรกิจของแต่ละหน่วยงานจะไม่เปลี่ยนโดยง่าย 👉 5 เหตุผลที่สมาคมการค้าต้องทำโมเดลธุรกิจของตัวเอง 1. ถ้าไม่ตอบสนองความต้องการของสมาชิก สมาคมจะสูญเสียฐานค้ำยัน ทุกสมาคมการค้า มีสมาชิกเป็นรากฐานสำคัญที่ค้ำยันความจำเป็นของการมีสมาคมการค้านั้นๆ และสมาชิกก็หวังความช่วยเหลือหรือประโยชน์บางอย่างจากสมาคมการค้านั้น หากสมาคมไม่สามาร

Funding Model เพื่อการบริหารชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถีอย่างยั่งยืน

นวัตวิถีคือโครงการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้เกิดรายได้กับชุมชน โดยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างทั่วถึง กระตุ้นเศรษฐกิจและสังคมภายในประเทศให้มีความเข้มแข็ง เป็นโครงการที่ผนวกโครงการ OTOP เข้ากับการท่องเที่ยว โดยสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวเมืองรองขึ้น แล้วส่งนักท่องเที่ยวเข้าชุมชน แทนที่จะดึงวิสาหกิจออกจากชุมชนสู่เมืองอย่างที่โอท็อปเคยทำด้วยการจัดงานแฟร์ แล้วให้สินค้าชุมชนต่างๆเหล่านี้มาออกร้านขายของปีละสามสี่เดือน ส่วนที่เหลืออีกปีละแปดเก้าเดือน ก็เคว้ง ว่างงาน กับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป งานของโครงการชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถี เริ่มตั้งแต่การค้นหาจุดเด่นของชุมชน ดึงมาพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว สร้างเรื่องราว เรื่องเล่า ผสานกับการให้ความรู้กับชุมชนในการสร้างรายรับจากนักท่องเที่ยวที่เข้าสู่ชุมชน นวัตวิถี จึงเป็นโครงการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ภายใต้วิถีชีวิตปกติของชุมชนเอง อย่างไรก็ตาม หากต้องการทำให้โครงการมีความยั่งยืน ต้องมีการจัดการเพื่อให้การบริหารโครงการมีความต่อเนื่อง จำเป็นต้องมีการบำรุงรักษาและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว การรักษาความสะอาด การรักษาความปลอดภัย การพัฒนาสินค้าและบริการให้มีความว้าว