ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

รายได้ของสมาคม


องค์การไม่หวังผลกำไรมีความแตกต่างจากหน่วยธุรกิจ  หน่วยธุรกิจดำเนินกิจกรรมต่างๆ โดยมีเงินเป็นเป้าหมาย แต่เงินไม่ใช่เป้าหมายในการดำเนินงานของหน่วยงานไม่หวังผลกำไรอย่างเช่น มูลนิธิ สมาคม สมาคมการค้า เป็นต้น

องค์การไม่หวังผลกำไรเหล่านี้ ก่อตั้งองค์การมาเพื่อวัตถุประสงค์อื่นที่มิใช่ การสร้างรายได้แล้วนำผลกำไรมาแบ่งปันกัน 

มูลนิธิ มักตั้งขึ้นเพื่อจัดการทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์แก่สาธารณะ สมาคมมักตั้งขึ้นเพื่อดำเนินกิจกรรมบางอย่างอันเป็นความสนใจร่วมกันของคนหลายๆคนที่มีลักษณะต่อเนื่อง สมาคมการค้า มักมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการประกอบการของสมาชิกซึ่งมักอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ในการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ขององค์การไม่หวังผลกำไรเหล่านี้ ก็ต้องใช้เงินในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ ไม่ต่างจากหน่วยธุรกิจ องค์การไม่หวังผลกำไร ต้องจ้างพนักงานประจำ ต้องซื้อเครื่องมือ อุปกรณ์ในการทำงาน ต้องเดินทาง ต้องเช่าอาคารสถานที่ เป็นต้น เหล่านี้ล้วนแต่ต้องใช้เงิน

ปัญหาเรื่องเงิน มักเป็นปัญหาใหญ่ที่ทำความปวดหัวให้กับผู้บริหารสมาคมจำนวนมาก หลายๆสมาคมต้องชลอการเดินตามแผน เพราะขาดแหล่งเงินที่จะมาสนับสนุนกิจกรรมตามพันธกิจ ในที่นี้ เราจะมาทำความเข้าใจกับแนวทางการสร้างรายได้เพื่อผลักดันกิจกรรมตามพันธกิจกัน

รายได้ของสมาคม มี 2 ประเภทใหญ่คือ
1.รายได้จากค่าธรรมเนียมสมาชิก
2.รายได้ที่ไม่ใช่ค่าธรรมเนียมสมาชิก

รายได้จากค่าธรรมเนียมสมาชิก

คือรายได้ที่เก็บจากสมาชิกเนื่องจากสถานภาพการเป็นสมาชิกขององค์การนั้น องค์การไม่หวังผลกำไรประเภทที่มีสมาชิกอย่างเช่นสมาคม และสมาคมการค้า ส่วนใหญ่มักมีรายได้หลักมาจากค่าธรรมเนียมสมาชิก หากสมาชิกไม่ชำระค่าธรรมเนียมนี้ตามข้อบังคับขององค์การ ก็มีผลในการเสียสมาชิกภาพขององค์การฯไป

อย่างไรก็ตาม ค่าธรรมเนียมนี้ มักเป็นอัตราที่สมาชิกเห็นชอบผ่านการอนุมัติให้ใช้อัตราค่าธรรมเนียมนี้ในที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกขององค์การ ซึ่งสมาชิกมักไม่ยินยอมให้สมาคมเพิ่มอัตราค่าธรรมเนียมสมาชิก ดังนั้นรายได้ประภทนี้เป็นรายได้ประจำ มีความสม่ำเสมอแน่นอน แต่ไม่สามารถปรับเพิ่มได้ง่ายนัก

รายได้ที่ไม่ใช่ค่าธรรมเนียมสมาชิก

ดังที่กล่าวมาแล้ว องค์การไม่หวังผลกำไรต่างๆล้วนต้องใช้เงินในการขับเคลื่อนกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ ความเป็นองค์การที่ไม่หวังผลกำไร ไม่ใช่โมเดลธุรกิจที่ไม่สร้างกำไร หากแต่มิได้นำกำไรมาแบ่งปันกันเป็นประโยชน์ส่วนตัวของผู้เกี่ยวข้อง

วัตถุประสงค์หลักของการก่อตั้งมูลนิธิ สมาคม สมาคมการค้า มักประกอบด้วยกิจกรรมจำนวนมากที่เกินกว่าจะรายได้จากค่าธรรมเนียมจากสมาชิก องค์การไม่หวังผลกำไรจึงต้องสร้างกำไรจากกิจกรรมบางอย่าง เพื่อนำมาขับเคลื่อนกิจกรรมตามวัตถุประสงค์หลักขององค์การ มูลนิธิ สมาคม สมาคมการค้าต่างๆ โมเดลธุรกิจของมูลนิธิ สมาคม สมาคมการค้า จึงประกอบด้วยโมเดลธุรกิจสองโมเดลซ้อนกัน คือโมเดลธุรกิจตามวัตถุประสงค์หลักขององค์การ และโมเดลธุรกิจที่สองคือ โมเดลธุรกิจในการสร้างรายได้มาทำกิจกรรมตามวัตถุประสงค์หลักนั่นเอง

ตัวอย่างรายได้ที่ไม่ใช่ค่าธรรมเนียมนี้ เช่นการสนับสนุนจากสปอนเซอร์ ค่าบริการบางอย่างที่สมาคม จัดให้แก่สมาชิกหรือบุคคลภายนอก นอกเหนือจากสิทธิปกติของสมาชิก เป็นต้น

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

6 แหล่งรายได้ของสมาคม

สมาคมการค้าส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องขนาดงบประมาณที่จะใช้ในการผลักดันกิจกรรมของสมาคม ครั้นจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มจากสมาชิก สมาขิกก็มักจะไม่ยินยอมให้เก็บเพิ่ม สมาคมการค้าจึงมักจะต้องใช้วิธีปรับลดกิจกรรมตามแผนงานลง ปัญหาเช่นนี้มักเกิดขึ้นกับองค์การที่ไม่หวังผลกำไรอื่นประเภทที่เน้นบทบาทของสมาชิกด้วย อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาดีๆ สมาชิกไม่ใช่แหล่งรายได้เดียวของสมาคมการค้า เมื่อจำแนกรายได้ของสมาคม จากเจ้าของเงิน เราสามารถแบ่งได้เป็น 1.สมาชิก :  สมาชิกเป็นแหล่งรายได้แรกๆที่สมาคมจะคิดถึง อย่างไรก็ตาม สมาคมสามารถได้รับรายได้จากสมาชิก ไม่เพียงแต่ในรูปแบบของค่าธรรมเนียมเท่านั้น สมาคมยังสามารถสร้างสรรค์บริการอื่นที่ตรงใจสมาชิก เพื่อรับค่าบริการเป็นการตอบแทน เช่นการอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพของสมาชิก, การจัดกิจกรรมเพื่อสร้างโอกาสทางการตลาดแก่สมาชิก เป็นต้น 2.ภาครัฐ :  องค์การไม่หวังผลกำไร เกิดขึ้นจากการที่รัฐบาลไม่สามารถดูแลงานภาคสังคมได้ทั่วถึง จึงเกิดการรวมตัวกันของชุมชนเข้ามาช่วยจัดการแทนภาครัฐ ดังนั้นภาครัฐจึงสนับสนุนงบประมาณและอื่นๆ เป็นการตอบแทนการทำหน้าที่แทนรัฐบาลขององค์การไม่แสวงหากำไร

5 เหตุผลที่สมาคมการค้าต้องทำโมเดลธุรกิจของตัวเอง

สมาคมการค้า เป็นที่รวมของผู้ประกอบการในธุรกิจเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน เพื่อสร้างความร่วมมือ โดยหวังผลจากพลังผนึกที่ให้ผลหนึ่งบวกหนึ่งที่มากกว่าสอง แต่ในความเป็นจริงอาจไม่เป็นเหมือนดังที่คิด หลายๆสมาคมอาจกลายเป็นเพียงกลุ่มสังสรรค์นัดรับประทานอาหารกันตามโอกาส หรือแม้แต่กระทั่ง การดำเนินกิจกรรมของบางสมาคมการค้าที่เหมือนจะแข่งกับธุรกิจของสมาชิกโดยตรง การทำโมเดลธุรกิจ เป็นคำตอบที่ช่วยให้สมาคมได้ทบทวนสิ่งที่กำลังทำอยู่ 👉 โมเดลธุรกิจคืออะไร ? โมเดลธุรกิจ คือโครงสร้างหรือแนวทางการทำงานของสมาคม ซึ่งในโมเดลธุรกิจจะบอกว่าสมาคมของคุณจะทำอะไร ให้กับใคร อย่างไร ด้วยทรัพยากรหรือความสามารถอะไร หลายๆหน่วยงานอาจจะคุ้นเคยกับแผนธุรกิจหรือแผนงานที่อาจมีการเปลี่ยนแผนบ่อยๆ แต่โมเดลธุรกิจของแต่ละหน่วยงานจะไม่เปลี่ยนโดยง่าย 👉 5 เหตุผลที่สมาคมการค้าต้องทำโมเดลธุรกิจของตัวเอง 1. ถ้าไม่ตอบสนองความต้องการของสมาชิก สมาคมจะสูญเสียฐานค้ำยัน ทุกสมาคมการค้า มีสมาชิกเป็นรากฐานสำคัญที่ค้ำยันความจำเป็นของการมีสมาคมการค้านั้นๆ และสมาชิกก็หวังความช่วยเหลือหรือประโยชน์บางอย่างจากสมาคมการค้านั้น หากสมาคมไม่สามาร

Funding Model เพื่อการบริหารชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถีอย่างยั่งยืน

นวัตวิถีคือโครงการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้เกิดรายได้กับชุมชน โดยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างทั่วถึง กระตุ้นเศรษฐกิจและสังคมภายในประเทศให้มีความเข้มแข็ง เป็นโครงการที่ผนวกโครงการ OTOP เข้ากับการท่องเที่ยว โดยสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวเมืองรองขึ้น แล้วส่งนักท่องเที่ยวเข้าชุมชน แทนที่จะดึงวิสาหกิจออกจากชุมชนสู่เมืองอย่างที่โอท็อปเคยทำด้วยการจัดงานแฟร์ แล้วให้สินค้าชุมชนต่างๆเหล่านี้มาออกร้านขายของปีละสามสี่เดือน ส่วนที่เหลืออีกปีละแปดเก้าเดือน ก็เคว้ง ว่างงาน กับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป งานของโครงการชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถี เริ่มตั้งแต่การค้นหาจุดเด่นของชุมชน ดึงมาพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว สร้างเรื่องราว เรื่องเล่า ผสานกับการให้ความรู้กับชุมชนในการสร้างรายรับจากนักท่องเที่ยวที่เข้าสู่ชุมชน นวัตวิถี จึงเป็นโครงการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ภายใต้วิถีชีวิตปกติของชุมชนเอง อย่างไรก็ตาม หากต้องการทำให้โครงการมีความยั่งยืน ต้องมีการจัดการเพื่อให้การบริหารโครงการมีความต่อเนื่อง จำเป็นต้องมีการบำรุงรักษาและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว การรักษาความสะอาด การรักษาความปลอดภัย การพัฒนาสินค้าและบริการให้มีความว้าว