ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

3 สิ่งต้องมีในแผนยุทธศาสตร์ของสมาคม



สมาคมจำนวนมากที่บริหารสมาคมไปโดยไม่มีแผน การจัดลำดับงานและทิศทางการตัดสินใจ ขึ้นอยู่กับว่าจะมีงานอะไรเร่งด่วนเฉพาะหน้าเข้ามา หรือใครเสียงดังที่สุดบนโต๊ะประชุม สภาพเช่นนี้ ย่อมไม่เป็นผลดีต่อสมาชิกที่รอรับความช่วยเหลือจากสมาคม ยากจะบอกได้ว่า สมาคมกำลังดำเนินการไปตามวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งอยู่หรือไม่

สาเหตุมักเกิดขึ้นจากการที่สมาคมไม่มีแผนยุทธศาสตร์ของตนเองที่ใช้เป็นแนวทางในการบริหารและตัดสินใจ

คณะกรรมการสมาคมมักคิดว่า การทำแผนยุทธศาสตร์ เป็นเรื่องยากเกินไปที่สมาคมจะทำแผนยุทธศาสตร์เป็นของตัวเอง แต่ในความเป็นจริงแล้ว แผนยุทธศาสตร์ของสมาคม มีตั้งแต่ขนาดหนึ่งแผ่นกระดาษ ไปจนถึงเป็นเล่มหนาๆ แต่ทั้งหมดนี้ มี 3 สิ่งมี เหมือนๆกัน นั่นก็คือ

1. ระบุเป้าหมาย
สมาคมจะต้องระบุออกมาให้ชัดเจนถึงภาพความฝันที่มุ่งหมายจะไปให้ถึง เพื่อให้ทุกคนได้ทำความเข้าใจกับเป้าหมายร่วมกัน ลองคิดดูว่า ถ้าทีมของคุณแยกกันออกเดินทาง  โดยไม่ได้ตกลงกันให้ชัดเจนว่า เป้าหมายคือที่ใด คุณคิดว่า จะมีกี่คนที่คุณจะได้พบที่จุดหมายที่คุณคิดไว้  นี่เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง ที่มือทำงานของแต่ละสมาคม มักพบว่า มีแต่ตัวเองเดินอยู่คนเดียว ส่วนเพื่อนๆต่างกระจัดกระจายไปคนละทาง สภาพเช่นนี้เห็นได้ชัดในเวลาประชุม การให้เหตุผลไปคนละทาง เพราะแต่ละคนต่างก็มองเป้าหมายของสมาคมต่างกันออกไป บางคนมองเป้าระยะสั้น บางคนมองเลยไปถึงเป้าระยะไกล ในแต่ละระยะก็มีจุดเน้นต่างกันอีก งานเหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งหากไม่ได้ตกลงเป้าหมายกันก่อน ก็จะกลายเป็นแยกกันเดินแล้วหากันไม่เจอ

การไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจน นอกจากจะวัดผลไม่ได้แล้ว ยังยากจะบอกด้วยว่า ตอนนี้คุณเดินหน้า หรือถอยหลัง ยังเดินตามทางหรือหลงทางไปแล้ว

2. ระบุขั้นตอนสำคัญของการเดินสู่เป้าหมาย
เมื่อรู้เป้าหมายแล้ว สิ่งถัดมาที่จะทำก็คือ การกำหนดขั้นตอนสำคัญที่จะไปถึงจุดหมาย ถ้าตกลงกันว่าเป้าหมายคือเชียงใหม่ และสมมุติว่าจากเงื่อนไขข้อจำกัดต่างๆที่มี เห็นพ้องกันว่าต้องไปทางเครื่องบิน ขั้นตอนสำคัญอาจกำหนดได้ว่า จองตั๋ว, เช็คอินขึ้นเครื่อง และถึงเชียงใหม่

3. การวัดผล
คือเกณฑ์ที่จะบอกได้ว่า เราทำงานสำเร็จแล้ว เราถึงปลายทางที่ฝันแล้ว สิ่งที่จะบอกได้ชัดๆอย่างนั้น คือเกณฑ์ที่สามารถวัดได้ ซึ่งกำหนดไว้ตั้งแต่ต้นให้สอดคล้องกับเป้าหมายตามข้อแรก

คณะกรรมการอาจตั้งคำถามถามตัวเองง่ายๆ 3 ข้อว่า
1. เรากำลังจะไปไหน?
2. เราจะไปยังไง?
3. รู้ได้ยังไงว่าเรามาถึงแล้ว?

เมื่อได้คำตอบแล้ว คุณก็จะได้แผนยุทธศาสตร์คร่าวๆกำกับการบริหารสมาคม ไม่ต้องหลงพายเรือวนในอ่างอีกต่อไป

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

6 แหล่งรายได้ของสมาคม

สมาคมการค้าส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องขนาดงบประมาณที่จะใช้ในการผลักดันกิจกรรมของสมาคม ครั้นจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มจากสมาชิก สมาขิกก็มักจะไม่ยินยอมให้เก็บเพิ่ม สมาคมการค้าจึงมักจะต้องใช้วิธีปรับลดกิจกรรมตามแผนงานลง ปัญหาเช่นนี้มักเกิดขึ้นกับองค์การที่ไม่หวังผลกำไรอื่นประเภทที่เน้นบทบาทของสมาชิกด้วย อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาดีๆ สมาชิกไม่ใช่แหล่งรายได้เดียวของสมาคมการค้า เมื่อจำแนกรายได้ของสมาคม จากเจ้าของเงิน เราสามารถแบ่งได้เป็น 1.สมาชิก :  สมาชิกเป็นแหล่งรายได้แรกๆที่สมาคมจะคิดถึง อย่างไรก็ตาม สมาคมสามารถได้รับรายได้จากสมาชิก ไม่เพียงแต่ในรูปแบบของค่าธรรมเนียมเท่านั้น สมาคมยังสามารถสร้างสรรค์บริการอื่นที่ตรงใจสมาชิก เพื่อรับค่าบริการเป็นการตอบแทน เช่นการอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพของสมาชิก, การจัดกิจกรรมเพื่อสร้างโอกาสทางการตลาดแก่สมาชิก เป็นต้น 2.ภาครัฐ :  องค์การไม่หวังผลกำไร เกิดขึ้นจากการที่รัฐบาลไม่สามารถดูแลงานภาคสังคมได้ทั่วถึง จึงเกิดการรวมตัวกันของชุมชนเข้ามาช่วยจัดการแทนภาครัฐ ดังนั้นภาครัฐจึงสนับสนุนงบประมาณและอื่นๆ เป็นการตอบแทนการทำหน้าที่แทนรัฐบาลขององค์การไม่แสวงหากำไร

5 เหตุผลที่สมาคมการค้าต้องทำโมเดลธุรกิจของตัวเอง

สมาคมการค้า เป็นที่รวมของผู้ประกอบการในธุรกิจเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน เพื่อสร้างความร่วมมือ โดยหวังผลจากพลังผนึกที่ให้ผลหนึ่งบวกหนึ่งที่มากกว่าสอง แต่ในความเป็นจริงอาจไม่เป็นเหมือนดังที่คิด หลายๆสมาคมอาจกลายเป็นเพียงกลุ่มสังสรรค์นัดรับประทานอาหารกันตามโอกาส หรือแม้แต่กระทั่ง การดำเนินกิจกรรมของบางสมาคมการค้าที่เหมือนจะแข่งกับธุรกิจของสมาชิกโดยตรง การทำโมเดลธุรกิจ เป็นคำตอบที่ช่วยให้สมาคมได้ทบทวนสิ่งที่กำลังทำอยู่ 👉 โมเดลธุรกิจคืออะไร ? โมเดลธุรกิจ คือโครงสร้างหรือแนวทางการทำงานของสมาคม ซึ่งในโมเดลธุรกิจจะบอกว่าสมาคมของคุณจะทำอะไร ให้กับใคร อย่างไร ด้วยทรัพยากรหรือความสามารถอะไร หลายๆหน่วยงานอาจจะคุ้นเคยกับแผนธุรกิจหรือแผนงานที่อาจมีการเปลี่ยนแผนบ่อยๆ แต่โมเดลธุรกิจของแต่ละหน่วยงานจะไม่เปลี่ยนโดยง่าย 👉 5 เหตุผลที่สมาคมการค้าต้องทำโมเดลธุรกิจของตัวเอง 1. ถ้าไม่ตอบสนองความต้องการของสมาชิก สมาคมจะสูญเสียฐานค้ำยัน ทุกสมาคมการค้า มีสมาชิกเป็นรากฐานสำคัญที่ค้ำยันความจำเป็นของการมีสมาคมการค้านั้นๆ และสมาชิกก็หวังความช่วยเหลือหรือประโยชน์บางอย่างจากสมาคมการค้านั้น หากสมาคมไม่สามาร

Funding Model เพื่อการบริหารชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถีอย่างยั่งยืน

นวัตวิถีคือโครงการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้เกิดรายได้กับชุมชน โดยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างทั่วถึง กระตุ้นเศรษฐกิจและสังคมภายในประเทศให้มีความเข้มแข็ง เป็นโครงการที่ผนวกโครงการ OTOP เข้ากับการท่องเที่ยว โดยสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวเมืองรองขึ้น แล้วส่งนักท่องเที่ยวเข้าชุมชน แทนที่จะดึงวิสาหกิจออกจากชุมชนสู่เมืองอย่างที่โอท็อปเคยทำด้วยการจัดงานแฟร์ แล้วให้สินค้าชุมชนต่างๆเหล่านี้มาออกร้านขายของปีละสามสี่เดือน ส่วนที่เหลืออีกปีละแปดเก้าเดือน ก็เคว้ง ว่างงาน กับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป งานของโครงการชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถี เริ่มตั้งแต่การค้นหาจุดเด่นของชุมชน ดึงมาพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว สร้างเรื่องราว เรื่องเล่า ผสานกับการให้ความรู้กับชุมชนในการสร้างรายรับจากนักท่องเที่ยวที่เข้าสู่ชุมชน นวัตวิถี จึงเป็นโครงการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ภายใต้วิถีชีวิตปกติของชุมชนเอง อย่างไรก็ตาม หากต้องการทำให้โครงการมีความยั่งยืน ต้องมีการจัดการเพื่อให้การบริหารโครงการมีความต่อเนื่อง จำเป็นต้องมีการบำรุงรักษาและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว การรักษาความสะอาด การรักษาความปลอดภัย การพัฒนาสินค้าและบริการให้มีความว้าว