ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

8 รูปแบบรายได้ที่ไม่ใช่ค่าธรรมเนียม ที่สมาคมสามารถสร้างขึ้นง่ายๆ

การไม่หวังผลกำไร เป็นวัตถุประสงค์หนึ่งขององค์การที่ไม่หวังผลกำไรอย่าง มูลนิธิ สมาคม หรือสมาคมการค้า แต่ไม่ใช่โมเดลธุรกิจในการทำกิจกรรม องค์การไม่หวังผลกำไรเหล่านี้จำเป็นต้องใช้เงินในการทำกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งองค์การ  จึงต้องมีโมเดลธุรกิจย่อยอย่างน้อยสองโมเดล หนึ่งคือโมเดลธุรกิจสำหรับงานตามวัตถุประสงค์ โมเดลย่อยที่สองคือ การสร้างรายได้ให้เพียงพอกับการผลักดันกิจกรรมตามวัตถุประสงค์แรก

รายได้ของสมาคมต่างๆ มีที่มาใหญ่ๆสองทางคือ รายได้จากค่าธรรมเนียมหรือค่าบำรุงที่ได้จากสมาขิก ทางที่สองคือ รายได้อื่นที่ไม่ใข่ค่าธรรมเนียม ซึ่งรายได้ที่ไม่ใช่ค่าธรรมเนียมนี้ เป็นแหล่งรายได้ที่ช่วยลดภาระของสมาชิกได้ดี

สมาคมมักพบว่า มีกิจกรรมมากมายที่ต้องทำเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งสมาคม หากแต่การขาดทรัพยากรสำคัญคือรายได้ที่จะใช้ การจะขอเพิ่มค่าธรรมเนียมจากสมาชิก ก็มักไม่ค่อยได้รับความร่วมมือ หรือไม่อนุมัติคำร้องขอของกรรมการบริหารสมาคม ทำให้ต้องชลอหรือลดขนาดโครงการลงให้เหมาะสมกับรายได้ที่มี


และนี่คือรูปแบบของรายได้ที่ไม่ใช่ค่าธรรมเนียม ที่จะช่วยเพิ่มงบประมาณในการทำงานตามวัตถุประสงค์หลักได้


1.ขายสินค้า
สมาขิก ไม่ว่าในฐานะบุคคลธรรมดาหรือหน่วยธุรกิจ ล้วนจำเป็นต้องจับจ่ายใช้สอย ลองสังเกตว่า มีสินค้าอะไรบ้างที่สมาชิกจำเป็นต้องใช้ ทั้งการบริโภคส่วนตัว และการใช้ในธุรกิจ เมื่อพบสินค้าที่น่าสนใจแล้ว ให้ลองติดต่อนำมาขายให้สมาชิก พร้อมกับการทำความเข้าใจกับสมาชิกถึงประโยชน์ที่ได้แก่สมาชิก โดยที่ไม่ต้องเพิ่มค่าธรรมเนียม

สมาคมศิษษ์เก่า อาจทำของใช้ที่พิมพ์ชื่อหรือตราสัญลักษณ์ของโรงเรียน การหาสินค้าพิเศษให้เฉพาะผู้เป็นสมาชิกสมาคมการค้าจำหน่าย หรือบางอุตสาหกรรมอาจมีอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้เฉพาะอุตสาหกรรมนั้นๆ ซึ่งสมาชิกอาจเสาะหามาใช้ได้ยาก หากสมาคมจะเป็นตัวกลางในการจัดหามาจำหน่ายให้แก่สมาชิก จะได้ประโยชน์ทั้งในด้านการอำนวยความสะดวกให้สมาชิก และการสร้างรายได้ให้แก่สมาคมเอง

2.ให้บริการ
สมาคมสามารถดำเนินกิจกรรมบางอย่างให้สมาชิก หรือทำแทนสมาชิกเพื่อแลกกับค่าตอบแทน
สำหรับสมาคมการค้า ในแต่ละอุตสาหกรรมจะมีลักษณะเฉพาะของตัวเอง เช่น โรงงานที่ผลิตสินค้าส่งออก มักถูกร้องขอให้มีมาตรฐาน ISO หรือ GMP หรือ Halal เป็นต้น การให้คำปรึกษาหรือช่วยให้ธุรกิจสมาชิกพัฒนาจนได้รับมาตรฐานเหล่านี้ ก็เป็นบริการที่ช่วยส่งเสริมการประกอบการของสมาชิก

มีกิจกรรมมากมายในธุรกิจของสมาชิก ที่สมาชิกไม่สามารถ หรือไม่อยากทำเอง ธุรกิจเล็กๆ ไม่สามารถมีฝ่ายบัญชี หรือฝ่ายพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นของตนเอง การทำการตลาดเป็นเรื่องฟุ่มเฟือยสำหรับธุรกิจเล็กๆ หากสมาคมเสนอตัวเป็นผู้ดำเนินการแทน หรือจัดหาผู้มาทำแทน โดยแลกกับค่าบริการ ก็จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย

3.ค่านายหน้า
บางครั้ง สิ่งที่สมาชิกต้องการ อาจเกินความสามารถของสมาคม หรืออยู่นอกแนวทางการบริหารของสมาคม สมาคมไม่ต้องการเปลืองเวลาหรือทรัพยากรเพื่อลงไปทำเอง กรณีเช่นนี้ สมาคมอาจจัดหาผู้ให้บริการมาทำแทน โดยสมาคมอาจขอรับค่าตอบแทนเป็นค่านานหน้าหรือเปอร์เซนต์รายได้เป็นการตอบแทน

ประกันภัย เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์จต่อทุกธุรกิจ และบริษัทประกันภัยก็ยินดีจะให้ค่าตอบแทนสำหรับการได้ลูกคาใหม่ ค่านายหน้าจากการประกันภัย จึงเป็นแหล่งรายได้ที่น่าสนใจของสมาคม และองค์การไม่หวังผลกำไรอื่น

4.ขอทุน
ภาครัฐ และธุรกิจขนาดใหญ่มักมีงบประมาณหรือโครงการสนับสนุนกิจกรรมของส่วนรวม
องค์การไม่หวังผลกำไร เกิดขึ้นเพื่อสนับสนุนการทำกิจกรรมภาคสังคมที่รัฐไม่สามารถทำได้ทั่วถึง รัฐจึงมักตั้งงบประมาณ หรือบริการสนับสนุน กรมพัฒนาชุมชน มุ่งไปที่การส่งเสริมงานของชุมชนหรือวิสาหกิจชุมชน กรมพัฒนาธุรกิจ สนับสนุนธุรกิจเอสเอ็มอี กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมสนับสนุนภาคการผลิต กองทุนเอฟทีเอสนับสนุนผู้ได้รับผลกระทบจากการเปิดเขตการค้าเสรี เป็นต้น

นอกจากนี้ ธุรกิจขนาดใหญ่ ยังมีงบประมาณในส่วนของกิจกรรมเพื่อสังคม องค์การไม่หวังผลกำไร ที่มีโครงการดีๆเพื่อส่วนรวม ที่อยู่ในแนวทางของธุรกิจใหญ่ๆนั้น สามารถนำเสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนได้ ซึ่งการสนับสนุนนี้ อาจไม่ใช่เพียงแค่งบประมาณ แต่อาจไปถึงขั้นการจัดหาความเช่วยเหลือต่างๆที่จำเป็น เพื่อให้โครงการประสบความสำเร็จ

5.จัดอบรมสัมมนา
การเรียนรู้เป็นสิ่งที่คนให้การยอมรับ การจัดสัมมนาในหัวข้อที่ตรงกับความสนใจของคนในขณะนั้น นอกจากจะมีรายได้เข้าสมาคมแล้ว ยังเป็นการพัฒนาสมาชิกให้พร้อมรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอีกด้วย จึงเป็นกิจกรรมสร้างรายได้ที่สมาคมควรทำเป็นประจำ เพื่อกระตุ้นให้สมาชิกมีความตื่นตัว พร้อมจะพัฒนาอยู่เสมอ

6.สปอนเซอร์
คือรายได้ที่เกิดจากการที่ธุรกิจหนึ่งต้องการเข้าถึงกลุ่มคนในช่องทางของเรา
สมาคมการค้า เป็นที่รวมของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเดียวกันหรือใกล้ๆกัน ผู้ผลิต หรือผู้ขายสินค้าให้กับธุรกิจในอุตสาหกรรมนี้จึงยินดีจะสนับสนุนกิจกรรมของสมาคม เพื่อแลกกับการเข้าถึงสมาชิกของสมาคมซึ่งก็คือกลุ่มลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายของเขานั่นเอง

การเปิดช่องในการรับการสนับสนุนจากสปอนเซอร์ โดยปกติจะใช้พื้นที่ของสื่อที่สมาคมนั้นๆมีอยู่ หรืออีกช่องทางหนึ่งก็คือผ่านโครงการต่างๆที่สมาคมจัดขึ้น ซึ่งช่องทางเหล่านี้ ปลายทางคือสมาชิกซึ่งก็คือกลุ่มเป้าหมายของผู้เป็นสปอนเซอร์

7.เงินบริจาค
เป็นเงินที่ให้เปล่าแก่สมาคม เนื่องจากการเห็นประโยชน์ของพันธกิจที่สมาคมนั้นๆกำลังกระทำอยู่ เงินบริจาคมีความแตกต่างจาก เงินที่ได้รับการสนับสนุนจากสปอนเซอร์ตรงที่ เงินบริจาคนั้น ผู้บริจาคมักไม่ต้องการสิ่งตอบแทนจากผู้รับบริจาค

การทำพันธกิจของสมาคมให้ชัดเจน การบริหารมีความโปร่งใส จะช่วยดึงดูดรายได้จากการบริจาคให้เข้าสู่สมาคมได้

8.จัดกิจกรรม
คือการสร้างกิจกรรมใดๆขึ้นมา ที่ดึงดูดการมีส่วนร่วม ไม่ว่าจากสมาชิก ภาครัฐ ภาคธุรกิจ ชุมชน เป็นต้น
กิจกรรมที่ได้รับการวางแผนอย่างดี จะเป็นการผลักดันให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งสมาคม ดึงดูดความสนใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังมีช่องทางสร้างรายได้ให้แก่สมาคมได้ในหลายลักษณะ เป็นต้นว่า ค่าเข้าร่วมงาน รายได้จากการสนับสนุน การขายสินค้าและบริการอื่นของสมาคม

ตัวอย่างเช่น การประชุมใหญ่สามัญประจำปีของสมาคมการค้า เป็นงานที่เป็นที่รวมของสมาชิกซึ่งเป็นผู้ประกอบการ จึงเป็นช่องทางที่ดีสำหรับ Supplier ของธุรกิจสมาชิกของสมาคมที่จะได้ติดต่ออกับกลุ่มเป้าหมาย สมาคมจึงควรสร้างข้อเสนอให้แก่ Supplier เหล่านี้เพื่อขอรับการสนับสนุน


ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่า สมาคมต่างๆ มีช่องทางมากมายที่จะสร้างรายได้เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งสมาคม และองค์การไม่หวังผลกำไรอื่นๆ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

6 แหล่งรายได้ของสมาคม

สมาคมการค้าส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องขนาดงบประมาณที่จะใช้ในการผลักดันกิจกรรมของสมาคม ครั้นจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มจากสมาชิก สมาขิกก็มักจะไม่ยินยอมให้เก็บเพิ่ม สมาคมการค้าจึงมักจะต้องใช้วิธีปรับลดกิจกรรมตามแผนงานลง ปัญหาเช่นนี้มักเกิดขึ้นกับองค์การที่ไม่หวังผลกำไรอื่นประเภทที่เน้นบทบาทของสมาชิกด้วย อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาดีๆ สมาชิกไม่ใช่แหล่งรายได้เดียวของสมาคมการค้า เมื่อจำแนกรายได้ของสมาคม จากเจ้าของเงิน เราสามารถแบ่งได้เป็น 1.สมาชิก :  สมาชิกเป็นแหล่งรายได้แรกๆที่สมาคมจะคิดถึง อย่างไรก็ตาม สมาคมสามารถได้รับรายได้จากสมาชิก ไม่เพียงแต่ในรูปแบบของค่าธรรมเนียมเท่านั้น สมาคมยังสามารถสร้างสรรค์บริการอื่นที่ตรงใจสมาชิก เพื่อรับค่าบริการเป็นการตอบแทน เช่นการอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพของสมาชิก, การจัดกิจกรรมเพื่อสร้างโอกาสทางการตลาดแก่สมาชิก เป็นต้น 2.ภาครัฐ :  องค์การไม่หวังผลกำไร เกิดขึ้นจากการที่รัฐบาลไม่สามารถดูแลงานภาคสังคมได้ทั่วถึง จึงเกิดการรวมตัวกันของชุมชนเข้ามาช่วยจัดการแทนภาครัฐ ดังนั้นภาครัฐจึงสนับสนุนงบประมาณและอื่นๆ เป็นการตอบแทนการทำหน้าที่แทนรัฐบาลขององค์การไม่แสวงหากำไร

เหตุผลที่ภาครัฐนิยมติดต่อกับสมาคมการค้า

จุดเริ่มต้นของสมาคมการค้าจำนวนมาก มักก่อตัวจากกการมีความสนใจหรือปัญหาร่วมกัน จึงรวมตัวกันเป็นกลุ่มเครือข่าย หรือชมรมฯ และเมื่อผ่านการทำกิจกรรมติดต่อกับภาครัฐระยะหนึ่ง กลุ่มเครื่อข่ายนั้น มักได้รับคำแนะนำจากภาครัฐ ให้ดำเนินการจัดตั้งเป็นสมาคมการค้า ในด้านหนึ่งก็เพื่อให้กลุ่มเครือข่ายนั้นมีตัวตนตามกฏหมายเป็นนิติบุคคลหนึ่งที่ภาครัฐจะติดต่อทำธุรกรรมได้เป็นกิจจะลักษณะ อย่างไรก็ตาม ยังมีเหตุผลอื่นอีก โดยเฉพาะสมาคมการค้าที่ผ่านการจัดตั้งระยะหนึ่ง มีกลไกการทำงานของตัวเองแล้ว และนี่คือเหตุผลที่ภาครัฐนิยมในการติดต่อกับสมาคมการค้า 👉 เป็นตัวแทนของหน่วยจ้างงานของประเทศ สมาคมการค้าเป็นตัวแทนของสมาชิกผู้ประกอบการ ที่เป็นหน่วยย่อยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการจ้างงานทั่วไป จึงมีผลต่อเศรษฐกิจของประเทศ ในขณะที่รัฐบาลต้องการส่งเสริมธุรกิจ ให้มีการลงทุน ให้เกิดการจ้างงาน ประชาชนมีงานทำ มีการใช้จ่าย ธุรกิจจึงจะดำเนินต่อไปได้อันเป็นที่มาของภาษีที่รัฐจัดเก็บ ภาครัฐจึงอาศัยสมาคมการค้าที่เป็นตัวแทนผู้ประกอบการ เป็นช่องทางหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจตามนโยบายของภาครัฐได้ 👉 เป็นคู่เจรจาที่น่าเชื่อถ

แนวทางในการพัฒนาสมาคมการค้า

สมาคมการค้า จัดเป็นองค์การที่ไม่หวังผลกำไร ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการประกอบการของสมาชิก อย่างไรก็ตาม คุณค่าของสมาคมการค้า มิได้มีเพียงต่อผู้ประกอบการเท่านั้น สมาคมการค้ายังมีความรับผิดชอบต่อสังคม สมาคมการค้าจึงต้องจัดสมดุลระหว่างประโยชน์ของสมาชิกและสังคมส่วนรวมด้วย เพราะสังคมส่วนรวมก็คือลูกค้าของสมาชิก คือสภาพแวดล้อม หรือระบบนิเวศน์ของการประกอบการของสมาชิก แม้ว่าสมาชิกแต่ละรายอาจมิได้คำนึงถึง แต่สมาคมการค้าต้องคิดถึงผลกระทบเหล่านี้ด้วย กรรมการสมาคมการค้า จึงต้องมองภาพใหญ่กว่าสมาชิกแต่ละราย ต้องมองให้เห็นถึงระดับมหภาค นอกจากนี้ ภาครัฐนิยมขับเคลื่อนนโยบาย หรือโครงการบางอย่างผ่านสมาคมการค้า เพราะสมาคมการค้าเป็นการรวมตัว และเป็นตัวแทนของเอกชนที่เป็นผู้ประกอบการ อย่างไรก็ตาม ในหลายๆครั้ง หลายๆโครงการที่ไม่ประสบความสำเร็จ สาเหตุหนึ่งมาจากปัญหาเรื่องความไม่เข้มแข็งของสมาคมการค้านั้น ความเข้มแข็งของสมาคมการค้า สะท้อนออกมาในรูปของการจูงใจให้สมาชิกกระทำการบางอย่าง ที่สมาชิกไม่ยอมกระทำในสถานการณ์ปกติ หากสมาคมการค้าไม่เข้มแข็งเพียงพอ ก็ไม่สามารถชักจูงสมาชิกให้ทำเรื่องยากๆ การพัฒ